วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปความเข้าใจ


จิตศึกษา

กราฟ ช่วงการเรียนรู้




สมองส่วนหน้า 
      -  จะต้องทำงานให้มาก ด้านศีลธรรม,จริยธรรม,จิตศึกษา
       -   มองเห็นแนวโน้ม การตัดสินใจ
สมองส่วนกลาง
       -   การคิด
แกนสมอง
       -   พฤติกรรม กระตุ้นให้แกนสมองส่ง การแสดงออกสัญชาตญาณ




ปริยัติ  การสอบ
ปฎิบัติ   สติ  คือ ความรู้สึก(คิด)  และสติ (การรู้ตัว)
สิ่งสำคัญคือ ปฏิเวธ คือ วิถีการทำเป็นเป็นชีวิต สม่ำเสมอ  + จิตวิทยาเชิงบวก
การทำให้เด็กมีสติรู้ตัว เห็นคุณค่าทุกสรรพสิ่ง ให้เค้าเห็นคุณค่าสติกับสมาธิ 
ในการจัดกิจกรรมซึ่งกระบวนท่าไม่สำคัญ คำชมจะต้องมี และน้ำเสียงที่ใช้ก็ควรจะนุ่ม
มีกิจกรรมมากมายที่เกี่ยวกับจิตศึกษา เช่น  นำใบไม้ใส่ตะกร้า  ให้เด็กลองวาดภาพความรู้สึกตอนนี้  ตอนที่เรามีความสุขที่สุดให้เด็กดูภาพระบายสีโดยใช้จุด  จับมือส่งความรู้สึก
ครูอาจจะเล่าเรื่องในสิ่งที่พบเห็น  ครูเด็กน้อยคนหนึ่งที่ขาดโอกาสไม่มีโอกาสได้เรียน  วันนี้เราเป็นคนที่มีโอกาสในสิ่งต่างๆ  เรามาส่งน้ำให้เพื่อให้ส่งกำลังใจได้ค่อยๆ ส่ง เด็กช่วยอธิษฐาน  หรือการนำข่าวมาเล่า  หน้าเสาธง  เราโชคดีนะคะ  เราช่วยส่งกำลังใจให้กำลังเพื่อนๆ  ช่วงนี้เป็นหน้าฝน  มีโคลนดินถล่ม  เราช่วยกันส่งดวงจิตอธิษฐานจิตเพื่อให้เค้าปลอดภัย
เราอาจจะศึกษาเรื่องเล่าจากนิทาน เซนหรือตามอินเทอร์เน็ต
ในการจัดกิจกรรมควรให้ครูผู้ปกครองมาร่วมกิจกรรมด้วยกัน และมีการสรุปกิจกรรมการเรียนรู้ว่าได้เรียนรู้เรื่องอะไร  มีความคาดหวังอะไร  ทำกิจกรรมร่วมกัน  ปฐมนิเทศผู้ปกครองให้มีความเข้าใจร่วมกัน  ชิ้นงานที่ให้เด็กทำนั้นจะแสดงให้เห็นความคิดเด็กว่าเด็กคิดอย่างไร  เช่น พืชเศรษฐกิจในท้องถิ่น  เด็กๆ จะก็จะแสดงความคิดของเขาออกมา 
การนำบล็อกมาต่อเป็นจิตศึกษาแปลงร่าง  การจัดนิทรรศการเรียนรู้  ก็จะเห็นผลผลิตของเด็กๆ  ได้แสดงออกให้ผู้ปกครองได้เห็นชิ้นงานของเด็กๆ  ผู้ปกครองก็จะเห็นความก้าวหน้าของเด็ก


และ วันนี้ครูต๋อยได้มอบหนังสือ"อธิษฐานสิจ๊ะ" ให้อ่านคนละ1เล่ม และให้แผน PBL : หน่วยการเรียนรู้ (ชื่อ -เป้าหมาย-ภูมิหลัง-คำถามสำคัญ) และได้แบ่งกลุ่มเพื่อสังเกตการจัดกิจกรรมจิตศึกษาในแต่ละชั้นเรียน
ครูภรได้มอบหมายภาระงาน คือการเขียนบันทึกทุกวัน
วันนี้ได้เรียนรู้การอัพภาพและสไลด์ไว้ในบล็อกเกอร์ และติดตั้งโปรแกรม Picasa เพื่อใช้ในการตกแต่งภาพ ด้วยเทคนิคง่ายๆ 

PBL : หน่วยการเรียน : "
ชื่อ : โคกตาสอน ป่าแห่งศรัทธา" ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เป้าหมาย : 
1. เข้าใจ ตระหนัก เห็นคุณค่า และความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างป่า สิ่งแวดล้อม และคนในชุมชน

2. เข้าใจและสามารถสร้างเครือข่ายการดูแล การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากป่าของชุมชนให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
ภูมิหลัง : 
            "ป่าโคกตาสอน" ป่าผืนสุดท้ายของชุมชนบ้านหนองสะแกสน มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและน่าค้นหา ในอดีตป่าโคกตาสอนมีพื้นที่เกือบ 20 ไร่ แต่ปัจจุบันเหลือพื้นที่ไม่ถึง 10 ไร่ ป่าโคกตาสอนเคยเป็นศูนย์รวมของสรรพชีวิต เป็นที่ก่อกำเนิดสายน้ำ ชีวิตพืชและสัตว์ที่หลากหลายอีกทั้งยังเป็นที่พึ่งพิงและให้ประโยชน์แก่ ชุมชนมาแต่โบราณกาล ปัจจุบันป่าโคกตาสอนซึ่งเป็นป่าตามธรรมชาติ ได้ถูกทำลายโดยการตัดไม้และการเผาป่าซึ่งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การนำต้นไม้มาเผาถ่าน นำไม้มาใช้หรือจำหน่ายเป็นโภคภัณฑ์ ในระหว่างที่ทำการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก และตั้งถิ่นฐาน การตัดไม้โดยไม่ปลูกทดแทนด้วยจำนวนที่เพียงพอ การบุกรุกแผ้วถางเป็นพื้นที่ทำกินส่วนบุคคล การทิ้งขยะและของเสียก่อให้เกิดความเสียหายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาความแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลเสียต่อการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ระบบนิเวศเสียสมดุล พืชและสัตว์พื้นถิ่นบางชนิดในบริเวณป่าถูกทำลายและหายไปจากพื้นที่
            ปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกพื้นที่ป่าคือ ความไม่เอาใจใส่หรือความไม่รู้คุณค่าที่แท้จริง ขาดการให้คุณค่า การจัดการป่าไม้ที่ไม่เข้มงวด และกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่บกพร่อง
            จากปัญหาดังกล่าว จึงเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจ ตระหนัก เห็นคุณค่าและความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างป่า สิ่งแวดล้อม และคนในชุมชน รวมทั้งสร้างเครือข่ายในการดูแล การอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากป่าของชุมชนให้คงอยู่อย่างยั่งยืน


คำถามสำคัญ : 








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น