วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จิตศึกษา ชั้นป.2 ครูกลอย

จิตศึกษา ชั้นป.2 กลอย
คุณครูเล่านิทาน "ชีวิตมหัศจรรย์ของออกัส" ให้เด็กๆฟัง
- ให้พี่..ช่วยบริการดินสอให้กับเพื่อนๆ และพี่กระดาษจะเดินทางไปหาพวกเรา
- คนไหนไม่ได้ลบเลขยอดเยี่ยมมาก
- คนไหนคิดเองยอดเยี่ยมมากเลย
- ครูกลอยจะให้เวลาทำ พี่เข็มยาวชี้เลข 3
- ตอนนี้พี่หลายคนวางพี่ดินสอไว้แล้ว
- ครูกลอยอยากดูผลงานของเราลองโชว์ให้กับเพื่อนๆ ดูนะคะ
ครูโชว์ภาพออกัส และเล่าเรื่องเพิ่มเติม ออกัส เค้าเคยผ่าตัดหลายครั้งและต้องเย็บแผลที่ใบหน้า
- เมื่อเด็กๆ ได้ยินเรื่องราวของออกัส เรารู้สึกอย่างไร
- สงสารออกัส อยากฟังอีก,สงสาร
- หนูๆ เขียนชื่อลงไปในงานด้วยนะคะ
- ขอมอนิเตอร์ 2 คน ดูแลดินสอของเพื่อนๆ และดูแลพี่ออกัสสวยๆของเพื่อน 
- ครูกลอยมองเห็นช่องว่าง 1 วัน มี 24 ชม.
ถ้า นก 5 ตัว บินมาที่โรงเรียนเรา  3 วัน ใช้ เวลากี่ชั่วโมงค่ะ


- นับ 1-9 แตะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เยี่ยมมากค่ะ
ข้อต่อไปนะคะ
ครูใหญ่บอกว่า ถั่วพร้า 1 ฝัก มีอยู่ 5 เมล็ด และ 5 เมล็ด จะผลิตได้ 20 ฝัก
พี่คิดว่าจะได้ทั้งหมดกี่เมล็ดค่ะ
100 ,100 ,50,71 พี่คิดอย่างไรค่ะ  ใครคิดแตกต่างจากนี้
- 123ปรบมือ 123ปรบมือ,one two tree ขอบคุณค่ะ
คิดอย่างไรค่ะ  5x20
20+20+20+20+20 =
ใครคิดแตกต่างจากนี้ค่ะเดี๋ยวครูกลอยรอพี่ป.2ให้คิดก่อนนะคะ
- ถ้าพร้อมแล้วจะส่งสัญญาณหาครูกลอยนะคะ ส่งกำลังใจให้พี่..
พี่ป.3 ฝากบางสิ่งบางอย่างมาให้พี่ๆ ได้ทำ
- นั่งก้นติดพื้น นั่งก้นติดพื้น
- มีดวงดาวอยู่ 3 แถว แถวละ 6 ดวง อยากรู้ว่ามี ดาว(รูปดาว) กี่ดวง
18
- ใครคิดแตกต่างจากเพื่อน
- ใครคิดอย่างไรค่ะ
- เอาพี่เลข 6 มา 3 ครั้ง

18 เขียนอยู่ในรูปการคูณได้อย่างไรค่ะ = 3x6 ,6x3 ได้มาอย่างไรค่ะ

- ใครที่ดูแลตัวเองไม่ได้ครูกลอยจะช่วยดูแลนะคะ
- พี่เปรมบอกว่า มีดาว 3 แถว แล้วแถวละ 5 ช่อง มีทั้งหมดกี่ช่อง
15
- คิดยังไงได้ 15 ค่ะ เอา 5 มาบวกกัน 3 ครั้ง เพราะมี 3 แถว แล้วแถวละ 5 ช่อง
5+5+5 = 15
เขียนอยู่ในรูปการคูณอย่างไรค่ะ  = 5x3,3x5
123 ปรบมือ,123ปรบมือ,one two tree
ครูกลอยมีความลับอยากจะบอก หนูๆอยากฟังมั๊ยค่ะ มีข้อตกลงบางอย่างของคณิตศาสตร์ ตัวเลขตัวหน้านี้ จะเป็นการนำ 5 ไปบวกกัน 3 ครั้ง  5x3 = 3+3+3+3+3
พี่โต้งบอกว่ามีอยู่ 5 แถว 5x4 ให้เราแปลงร่างเป็นการบวก  โดยใช้ข้อตกลงทางคณิตศาสตร์ 5+5+5+5
ใครคิดต่างค่ะ
4+4+4+4+4
ทบทวนข้อตกลงอีกครั้งนะคะ
5x4 = 4+4+4+4+4
ครูจะให้งานทำเป็นกลุ่มนะคะ เพื่อนในกลุ่มจะแลกกัน แปลงร่างพี่เขียนการคูณในรูปแบบการบวก

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สังเกตการสอนวิชาหลัก คณิต ป.5 และ ภาษาไทย ป.4

จิตศึกษา ชั้น ป.5  ครูฟ้า
โยคะ
- นั่งเป็นวงกลม 
- ขณะที่เราทำเราจะเช็คลมหายใจ เสียงพูดเราจะไม่ใช้นะคะ  ทุกครั้งที่ครูฟ้ารอ แสดงว่าเราไม่ได้ จะค่อยๆ ยืนด้วยเสียงเบาที่สุด พี่ฟ้าจะทำท่าอะไรค่ะ  พี่ภูเขา
- รอพี่ ..รอพี่ นับ 5
- ขอพี่ภูเขา อีกทีท่ายืด
- พี่รอท่าจากเพื่อน ท่าที่ 2 นะคะ กลับมาอยู่ที่ลมหายใจของตนเอง
- ท่าต้นไม้นับ 1 - 5 วาดแขนขึ้น
- รอเพื่อนก่อนนะคะ
- ตอนเช้าเราตื่นขึ้นมา จะเจอพระอาทิตย์ นับ 1 - 5 ทำทุกคนนะคะ  ครูทำอยากให้เกิดผลขอบคุณคนที่ทำได้  ถ้าเรายังหัวเราะเราจะยังไม่นับ ขอบคุณพี่สตังค์ที่กลับมาสะสมพลัง
- พี่แม็กทำท่าไหนค่ะ ท่าผีเสื้อครับ บอกให้เพื่อนๆทำ เบาๆ ผีเสื้อเจอเกสรดอกไม้ ค่อยๆ ก้มลงเบาๆ ค่ะ
- พี่ป.5 ค่อยเหยียดขาและนวดพี่ขาค่ะ ขอบคุณพี่แม็กที่ดูแลขาตัวเองที่พาเราเดิน วิ่งไปทุกที่ๆเราจะไป
- นั่งท่าเทพธิดาค่ะ พี่จรเข้จะใช้แก้มแนวกับพื้น จะสะสมพลังเตรียมทำโยคะต่อไปนะคะ
- ครูฟ้าขอเปลี่ยน พี่มาอยู่ใกล้ครูฟ้านะคะ
ท่าปลาดาว บอกตัวเองว่าตอนนี้เราจะพักผ่อนแล้ว เหยียดพี่ขา  ลงไปพักผ่อนร่างกาย 5 นาที

เครื่องมือคิด  
- think Pair Share
- Black Board Share
- Round Rubin
คณิตศาสตร์
- นั่งเป็นวงกลม
- ครูแบ่งกลุ่ม ให้นักเรียนเชิญเด็กทีละคน
เฉลย แสดงวิธีคิด
ข้อ 1.1) น้ำ 6 ขวด ราคา 50 บาท
น้ำ 1 ขวด ราคากี่บาท
50/6
1.2) เงิน 1 บาท :ซื้อน้ำได้กี่ขวด
 8.33 : 1 ขวด
คนที่นั่งข้างในช่วยมองว่าข้อไหนเราคิดต่างนะคะ
1.3) 25 บาท ซื้อน้ำได้กี่ขวด
6:50

6 ÷ 2 = 3 : 50 ÷ 2 = 25 
ตอบ 3 ขวด
1.4) น้ำ 3 ขวด ราคากี่บาท
 เงิน 25 บาท ได้ 3 ขวด
3 ขวด ราคา 25 บาท
1.5) จ่ายเงิน 120 บาท ซื้อน้ำได้กี่ขวด
50x2.4 = 120 บาท
6x2.4 = 14.4 บาท
2.1) สมุด 12 เล่ม ราคากี่บาท
            72
                x
              2 
          144
- ครูฟ้าจะให้งานนะคะ ครูมีเสียงเดียว ทุกคนก็ตั้งใจทำและตั้งใจฟัง จะให้โจทย์ที่แตกต่างกัน เพื่อดูความเข้าใจเรานะคะ
ชั้นป. 4 วิชาหลัก ภาษาไทย ครูฝน
- ครูให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม 
- ครูให้หนังสือสายลมกับท้องทุ่ง คนละ 1 เล่ม
- ใครที่อ่านเสร็จแล้ว ขอพี่วันที่ด้วยนะคะ
- ขอกึ่งกลางหน้ากระดาษนะคะ

"ในทุ่งกว้าง"
ครูฝนขอย่อหน้าแรกค่ะ เดี๋ยวเราจะอ่านพร้อมกันค่ะ เราอ่านตรงไหนค่ะ ย่อหน้าแรก  พร้อมกัน 3 2 1 ....
ย่อหน้านี้เด็กตีความว่ายังไงค่ะ
- สายลม สายฝนมาด้วย
- สิ่งที่ตามมากับสายฝนคืออะไรค่ะ
- เริ่มต้นเดือนพฤษภาคม เป็นเริ่มต้นฤดูกาลอะไรค่ะ
- แล้วเป็นยังไค่ะ ตอนแรกหย้าเป็นยังไงค่ะ 
- ก่อนที่จะถึงเดือนพฤษภาคม  เกิดอะไรขึ้นค่ะ
"ในทุ่งกว้าง"
          หลังจากฤดูร้อน สิ่งต่างๆ แห้งกรอบ พอเข้าเดือน.............................................
ภาษาบทเพลงมาเขียนภาพประกอบ
ป.4 การเรียนรู้วรรณกรรม
- ตัวสะกดมีอะไรบ้าง ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
AAR ครูณี ครูแป้ง
บอกใบ้จากบัตรคำ
- บัตรอยู่ในกล่อง หยิบกระดาษคนละ1 แผ่นคว่ำไว้หน้าตัวเอง ยังไม่ให้เพื่อนๆ เห็น เมื่อเพื่อนหยิบภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ดูภาพ เพื่อให้เราบอกใบ้ให้เพื่อนๆทายว่าสิ่งที่เราได้นั้นเป็นอะไร  เมื่อเพื่อนทายเสร็จแล้ว ให้จับคู่กัน ว่าคำที่เราได้ควรจะอยู่กับของเพื่อนคนไหนที่สุดแล้วนำมาแต่งเรื่อง
สร้างเรื่องจากบัตรภาพ
- บัตรอยู่ในกล่อง หยิบกระดาษคนละ 1 แผ่นคว่ำไว้หน้าตัวเอง ยังไม่ให้เพื่อนๆ เห็น  เมื่อเพื่อนหยิบภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ดูภาพ แล้วนับเพื่อนแบ่งกลุ่ม จากนั้นนำภาพให้เพื่อนดู เพื่อนำคำมาแสดงบทบาทสมมุติ เป็นเรื่องราว 
สิ่งที่เด็กจากกิจกรรมนี้ คือ ได้รู้คำศัพท์ มีอิสระในการคิด  ทำงานร่วมกัน
วางแผน ทำงานเป็นทีม  ตีความหมายของคำ เชื่อมโยงคำและความหมาย  เชื่อมโยงคำโดยใช้ละคร  สร้างเรื่อง  
- กรณีเด็กไม่เข้าร่วมกิจกรรม  ให้ซึมซับวิถี ไปกับเพื่อนก่อน   กิจกรรมหลากหลาย เค้าจะยังไม่ชอบกิจกรรมนี้  ต้องร่วมพูดคุยกับกับครู ผู้ปกครอง  บางครั้ง เราต้องให้แสดงเป็นหิน เป็นต้นไม้ เสริมแรง Empower ว่าเค้าเป็นส่วนสำคัญของเรื่องนะ ถ้าไม่มีเค้า ก็ดำเนินเรื่องนี้ไปไม่ได้ อยากจะลองเปลี่ยน บทดูมั๊ย
การประเมิน การแสดงละคร
- การพูด
- การเขียนบท
- การอ่านบท
- ประเมินผู้พูด ผู้ฟัง
- ชิ้นงานความรับผิดชอบ การถ่ายทอดเรื่องราว
- ครูต้องสังเกตเด็กทุกคนให้ทั่วถึง 
- เน้นทักษะมากกว่าความรู้  ชิ้นงานผ่านกระบวนการมาเยอะมาก
- กลุ่มสำคัญมาก ต้องทำงานร่วมกัน
- พัฒนาการเปรียบรายบุคคลว่ามีความก้าวหน้าไหม
- สร้างข้อตกลงว่างานชิ้นนี้ต้องการอะไรบ้าง  ครูต้อง Empower 
พูดได้ให้เด็กเค้าได้ช่วย พี่วาดสวยจัง ค่อยๆ ดึงศักยภาพเขาออกมาใช้ เพื่อนๆ เห็นก็จะเกิดการยอมรับ  เพื่อนๆ ก็จะยอมรับ
วรรณกรรม
สัปดาห์ละ 1 เรื่อง  ทีละตอน  
- การอ่าน,เชื่อมโยงสู่หลักภาษา , เรียนรู้หลักภาษาและนำมาใช้ ชิ้นงาน ,นิทานการ์ตูนช่อง
ม.ต้น
ชง (คาดเดาเรื่อง...สิทธัตถะ เป็นยังไง)
- พระเจ้า
- หิน
ถาม
- ให้แต่งเรื่อง
เชื่อม
- เอามาแชร์กับเพื่อน
อ่านจริง วิเคราะห์ตัวละคร การ์ตูนช่อง แผนภาพโครงเรื่อง...
ชง ทบทวนเรื่องราวเดิมเกิดอะไรขึ้น มีคำไหนเป็นคำราชศัพท์บ้าง (เชื่อม) ศึกษาข้อมูล
สรุป เป็นรายงาน เพลงกลอน (เชื่อม)
ใช้ ทำแบบฝึก สร้างสรรค์ใหม่ จะนำเสนอเนื้อเรื่องที่เราศึกษาให้คนอื่น เข้าใจได้ยังไง
เลือกวรรณกรรมที่มีความหมายคุณค่า  เหมาะสมกับวัย  ลักษณะการใช้คำเรื่องราว
- ครูทุกคนอ่านวรรณกรรมและนำเสนอทุกคน  
- ครูเลือกว่าเหมาะสมกับชั้นไหนและช่วยกันคิดและดูงานวรรณกรรมร่วมกัน
ภาษาไทย
- เลือกหนังสือ
- วิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัด หลักสูตร
- หลักภาษาใดบ้าง
-
- ทำแผนการสอน
- Mind mapping 
- เป้าหมายรายสัปดาห์ต้องการอะไร
ชง เชื่อม ใช้




 

การวิจารณ์วรรณกรรม และอธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว

การอ่านหนังสือ
โจนาทาน ลิฟวิงส์ตัน นางนวล
- ได้แรงบันดาลใจบางอย่าง เป็นนกนางนวลที่มีความคิดที่แตกต่างจากเพื่อน  การกินไม่ใช่สาระสำคัญของชีวิต  และถูกมองว่าเป็นนกนอกคอกมองต่างจากเพื่อน ผิดวิถีและธรรมเนียมจากเพื่อน
- การบินยังเป็นสิ่งที่รักอยู่ และออกมาฝึกฝนในรูปแบบต่างๆ  จนได้การบินที่สูงมาก  และแปลงได้ด้วยตนเอง
- ถ้านกตัวไหน ถูกคัดออกจากกลุ่ม ก็จะกลับเข้ามาไม่ได้อีก
- นกที่เก่งจะสอนเค้าทุกอย่าง เรียนรู้เร็ว ก็จะถถ่ายทอดวิชา  การบินสูง หรือบินต่ำ ไม่ใช่จุดสุดยอด  จุดสุดยอดคือ  ความเป็นอิสรภาพ ไม่ให้อยู่กับปัจจุบัน
นึกภาพว่าถ้าเราอยู่ที่ไหน ให้ไปที่นั่นได้  เช่นการหายตัว  ใช้การว๊าบ
ถ้าเธอมีความสามารถแล้วไม่ช่วยเพื่อน เพื่อนก็จะไม่มีอิสรภาพเหมือนเธอ
- ใครที่อ่าน  คิดต่างอย่างไร
พิศวงกับความคิด  การว๊าบยังไง  มีมวลที่แปลกแยกทำได้กับทำไม่ได้  บอกให้อดทน
- ชีวิตไม่ได้มีแก่นสาร  แค่การอยู่การกิน
- ที่สุดของชีวิตคือการสงบอยู่กับตัวเอง ฝึกฝนจนชำนาญ
หลักธรรมและหลักคิด  นกตัวอื่น  นึกถึงโรงเรียนเรา
-เค้าค้นพบวิธีการบินที่หลากหลาย  จนค้นพบวิธีการของตัวเอง
- นกที่บินข้างเค้าเปรียบเสมือนพระพุทธเจ้า  มีหน้าที่ทำอะไรก็ทำ

รีวิวเชิงวิจารณ์
- ใคร่ครวญ ตีความร่วมกัน ให้เพื่อนอ่านให้ฟัง
การอ่านกับการพัฒนาสมอง
การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ "การทำงานของสมอง" ที่เกิดขึ้น ในขณะอ่านหนังสือ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยปูพื้นฐานให้เราเข้าใจอานุภาพของการอ่านที่มีต่อการพัฒนาสมอง
ขั้นตอนของการอ่าน เป็นดังนี้
- รับภาพของเส้นที่ถูกขีดบนกระดาษผ่านกระบวนการมองเห็นเข้าสู่สมอง
- รับรู้ว่าภาพของเส้นที่รับเข้ามาเป็นตัวอักษร แทนหน่วยอักขระ ด้วยหน่วยเสียง
- รับรู้ความหมายของคำ
- รับรู้การเรียบเรียงประโยค/ไวยากรณ์
- รับรู้การใช้วาทกรรมและภาษาในเชิงปฏิบัติ
- การสะกดคำ
- ความเข้าใจภาษา
ประการแรก การอ่านหนังสือ มีขั้นตอนที่ซับซ้อนและต้องอาศัยการทำหน้าที่ของสมองคนละตำแหน่งในการทำงานประสานกัน
ประการที่สอง การอ่านนั้นต้องอาศัยการทำงานของสมองส่วนหน้า สมองส่วนที่มนุษย์มีพัฒนาการแตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความอัศจรรย์ของสมองมนุษย์
ประการที่สาม  ความน่าทึ่งของสมอง ที่สามารถ ประมวผลการทำงานของสมองหลายบริเวณในเวลาที่รวดเร็ว  หากได้รับการฝึกฝนจนมีทักษะการอ่านที่คล่องแคล่ว
และประการสุดท้าย  กิจกรรมการอ่านหนังสือ เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการทำงานประสานกันของสมองในหลายบริเวณ  และทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ประสาท จำนวน มหาศาล
"การเปลี่ยนแปลง" ของสมองที่เกิดจากการอ่านหนังสือ
การเปลี่ยนแปลง" ของสมองที่เกิดจากการอ่านหนังสือ
กลุ่มตัวอย่างที่รู้หนังสือ จะมีความสามารถในการจดจำคำศัพท์ในระยะสั้นได้ดีกว่า หรือเรียกได้ว่ามีความสามารถด้าน verbal working memory ที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่รู้หนังสือ
และพบว่า กลุ่มคนที่ไม่รู้หนังสือ นั้น มีปัญหาอย่างมากในการพูดตามคำศัพท์ที่ไม่มีความหมาย  ไม่สามารถพูดตามคำศัพท์ปลอมๆ ที่กำหนดให้ได้  แต่จะพูดคำศัพท์ที่ออกเสียงใกล้เคียงกัน แต่เป็นคำที่มีความหมายและเคยรู้จักขึ้นมาแทน
กลุ่มที่รู้หนังสือสามารถพูดคำศัพท์ตามได้ แต่กลุ่มที่ไม่รู้หนังสือไม่สามารถพูดคำศัพท์หรือออกเสียงตามได้ อาจจะเป็นเพราะเมื่อคนเราเรียนรู้การอ่านหนังสือ เราได้เรียนรู้ระบบของการวิเคราะห์ แจกลูกคำออกเป็นหน่วยเสียงย่อยๆ  และเกิดความตระหนักในการมีอยู่ของหน่วยเสียงต่างๆ จึงทำให้เกิดเป็นความสามารถในการบันทึกคำที่สร้างจากหน่วยเสียงที่หลากหลายไว้ในความทรงจำ ถึงแม้คำเหล่านั้นจะไม่มีความหมายและไม่เคยได้ยินมาก่อนก็ตาม เนื่องจากสามารถสร้างคำจากหน่วยเสียงพื้นฐานที่รู้จักออกมาเป็นคำศัพท์ต่างๆ ในความคิดได้อย่างไม่จำกัด  แตกต่างจากคนที่ไม่เคยเรียนรู้ระบบอักษรที่ต้องจดจำคำต่างๆ  โดยอ้างอิงจากคลัง ศัพท์ที่รู้จัก อยู่เดิมในชีวิตประจำวันเท่านั้น
สรุปการอ่านนั้น ไม่ได้หยุดเพียงแค่กระตุ้นให้สมองของเด็กทำงานในขณะที่ถือหนังสือ  แต่การรู้จัก "การอ่าน" ยังมีผลทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการเรียนรู้ ระบบการทำงาน  และโครงสร้างของสมองในระยะยาว "การอ่าน"เป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การทำงานของสมอง และสมองที่มีกระบวนการเรียนรู้นั้นต่างหากที่เป็น"ผล" มาจากการอ่านหนังสือ
กระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับจากการอ่าน
การอ่านไม่ใช่มีเพียง "ข้อมูล" ที่ตัวหนังสือถ่ายทอดออกมา  แต่เด็กจะได้รู้จัก "กระบวนการเรียนรู้" ใหม่ๆ เป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่าน "ระบบสัญลักษณ์ และการสร้างจินตภาพ
บทบาทสัญลักษณ์ หมายถึงการใช้สิ่งหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนอีกสิ่งหนึ่ง โดยสัญลักษณ์ถูกใช้อย่างกว้างขวางในสังคมมนุษย์ในรูปแบบที่หลากหลาย มีจุดประสงค์เพื่อย่อสิ่งต่างๆ ให้เล็กลงและจัดการได้ง่าย ตัวอักษรได้ย่อโลก ย่อข้อมูลจำนวนมหาศาลลงในหน้ากระดาษ ทำให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้  จนแม้ว่าต่อให้คนส่วนใหญ่ในโลกนี้จะไม่เคยไปสัมผัสขั้วโลกใต้ แต่เราก็เสาะหาข้อมูลของสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของดินแดนที่ห่าวไกลนั้นได้ไม่ยากเย็น และในการเรียนรู้ระบบภาษาและตัวอักษรนั้น  เด็กก็จะได้รับทั้งข้อมูลและการทำความคุ้นเคยกับการใช้ระบบสัญลักษณ์ ระบบสัญลักษณ์ทำหน้าที่ย่อข้อมูลความรู้มาอยู่ตรงหน้าเด็ก  และการใช้ประโยชน์จากระบบสัญลักษณ์นี้  เด็กจะต้องค่อยๆ เรียนรู้ความหมายของแต่ละถ้อยคำ  เพื่อให้รู้และจดจำได้ว่าข้อความเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใด  มองเผินๆ  ดูคล้ายกับว่า  เด็กแค่กำลังเรียนรู้คำศัพท์ทีละพยางค์  ทีละคำ  แต่แท้จริงแล้ว  นั้น คือการเรียนรู้โลกภายนอกที่กว้างออกไปทีละนิด
พลังแห่งจินตนาการ
การสร้างจินตนาการนี้มีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพราะเราใช้การสร้างจินตนาการ  เพื่อสร้างภาพของข้อมูลต่างๆ เก็บไว้ในความทรงจำ และอาศัยภาพที่สร้างขึ้นในโลกภายในสมอง  มาคิดต่อยอด  วางแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ  รวมถึงการทดลองแก้ปัญหาเบื้องต้นในโลกของความคิด  จินตภาพที่ถูกสร้างขึ้นใรความคิดเหล่านี้เป็นพื้นฐานไปสู่การสร้างองค์ความรู้ย่อยๆ ที่เรียกว่า สกีมา เป็นหน่วยย่อยของข้อมูลความรู้ ที่สมองได้บันทึกภาพความเข้าใจและความคิดที่มีต่อสิ่งต่างๆ เก็บไว้ในสมอง  เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์ที่พบเจอ  และเป็นพื้นฐานไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่พัฒนามาจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ต่อไป   เด็กจะสามารถใช้องค์ความรู้ที่ได้นี้ตอบคำถามเกี่ยวกับจิงโจ้ในห้องเรียนได้  แม้ว่าเด็กจะไม่ได้หยิบหนังสือมาดูในขณะนั้น  อีกทั้งยังนำองค์ความรู้ที่ได้นี้ไปปรับเพื่อ เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่  เมื่อครูสอนเกี่ยวกับสัตว์อื่นที่มีกระเป๋าหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ เช่นกระรอกบิน  ซึ่งเด็กก็จะบันทึกจินตภาพไว้ในสมองต่อไป
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่พัฒนามาจาก schema ที่มีอยู่นั้น  เกิดจากการทำงานของกระบวนการเรียนรู้ใน 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน  ได้แก่
1.การขยายองค์ความรู้  คือการเรียนรู้เพิ่มเติมโดยการใช้ schema เดิมที่มีอยู่
2.การปรับแต่งองค์ความรู้  คือ การเรียนรู้สิ่งใหม่โดยการปรับเปลี่ยน schema เดิมและสร้าง schema ใหม่ขึ้น
พัฒนาการด้านอารมณ์และการเข้าสังคม
มาจา ดิกิกและคณะผู้วิจัย ได้ทำการศึกษาประโยชน์ของการอ่านนิยายเรื่องแต่งที่มีต่อแนวความคิดของมนุษย์ เราก็พบว่า การอ่านหนังสือนิยายนั้นมีประโยชน์ด้านจิตใจมากกว่าที่คิด มีแนวโน้มที่จะ เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่  กล้ารับมือกับความไม่แน่นอน สามารถผ่อนคลายเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน  มีความยืดหยุ่น  และยังมีความคิดสร้างสรรค์  มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษากลุ่มที่อ่านบทความที่เขียนขึ้นจากข้อเท็จจริง  กระบวนการคิดดังกล่าว  อาจเกิดจากการที่ผู้อ่านจะต้องสร้างจินตภาพ  ติดตามการดำเนินเรื่องของตัวละครที่หลากหลาย  ทั้งตัวละครที่ผู้อ่านชื่นชอบในแนวคิด และตัวละครที่ผู้อ่านไม่ชื่นชอบ ตัวละครมีความคิดที่ต่างไปจากผู้อ่าน  หรือตัวละครที่มีการกระทำที่ผู้อ่านไม่เห็นด้วย  จึงทำให้ผู้ที่นิยมอ่านหนังสือประเภทนิยายเรื่องแต่งนั้น  รู้จักที่จะเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ  และมุมมองที่แตกต่างได้มากกว่านั่นเอง

เรียนรู้ใจเขาใจเรา
 นอกเหนือไปจากจิตใจที่เปิดกว้างแล้ว ทักษะสำคัญอีกประการหนึ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านการสร้างจินตภาพเพื่อใช้ชีวิตในมุมต่างตามบทบาทของตัวละคร คือ ความเห็นอกเห็นใจ  และการทำความเข้าใจความรู้สึกและมุมมองของบุคคลอื่น  ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตในสังคม  และการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกของบุคคลอื่นเรียกว่า theory of mind (ธีออรี ออฟ มายด์) "ความสามารถในการรับรู้ว่าคนเรา  (ทั้งตัวเราเองและคนอื่นๆ ) มีความคิด ความเชื่อ ความต้องการ ความรู้ การรับรู้ และการแสดงออกที่เฉพาะในคนๆ หนึ่ง และในแต่ละคน  มุมมองเหล่านั้น ก็อาจมีความแตกต่างกันไป"
โดยเด็กทั่วไปจะเริ่มมีพัฒนาการในเรื่อง theory of mind ตั้งแต่มีอายุได้ 4 ปี
เด็กที่เริ่มมีการพัฒนาทักษะ เรื่อง theory of mind จะเปลี่ยนมุมมองความคิดจากที่เคยมองโลกในมุมมองของตนเองเพียงอย่างเดียว  ยึดความคิดและความรู้สึกของตนเองเป็นหลัก มาลองมองในมุมมองของคนอื่นดูบ้าง
ผลการวิจัยได้แสดงผลการศึกษาที่น่าสนใจ  เด็กที่คุ้นเคยกับการอ่านหนังสือร่วมกับพ่อแม่จะมีผลทดสอบทักษะเรื่อง theory of mind ที่ดีกว่าเด็กที่คุ้นเคยกับสื่ออื่นๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มที่คุ้นเคยกับการดูโทรทัศน์  การดูโทรทัศน์บ่อยๆ จะทำให้เด็กมีการพัฒนาทักษะ theory of mindที่ล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันอีกด้วย
รู้จักและเข้าใจตนเอง
การอ่านหนังสือ ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านจิตสังคมที่ดีให้กับเด็กเล้กเท่านั้น  แต่ได้รับการสร้างนิสัยรักการอ่านให้ติดตัวไป "การอ่านหนังสือ"  ก็ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือในเวลาที่พวกเขาเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น  โดยมีส่วนช่วยให้ก้าวผ่านความทุกข์ใจที่เกิดภารกิจด้านจิตวิทยาตามธรรมชาติของวัยรุ่น  อย่างการแสวงหาอัตลักษณ์ของตนเอง และการปรับตัวเข้ากับสังคมไปได้
ผ่อนคลายความตึงเครียด
 จากการศึกษาผลของวิธีผ่อนคลายต่างๆ  ตั้งแต่การอ่านหนังสือ  การฟังเพลง การจิบชา  การเดินเล่น  และการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ โดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจและความตึงของกล้ามเนื้อ การอ่านหนังสือ เป็นกิจกรรมที่ได้ประสิทธิผลสูงที่สุดในการคลายความเครียด  ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ 68 โดยใช้เวลาเพียงแค่ 6 นาที นับจากตอนที่เริ่มพลิกหน้ากระดาษ  ก็สามารถทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยมีอัตราหัวใจที่ช้าลงและความตึงตังของกล้ามเนื้อลดลง
ในขณะที่กิจกรรมอื่นๆ  ละระดับความเครียดในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้
การฟังเพลง - ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ  61
การดื่มชา - ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ 54
การเดินเล่น - ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ 42
การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ - ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ 21
การที่หนังสือช่วยผ่อนคลายความเครียดได้  เป็นเพราะเรื่องราว ในหนังสือ ช่วยให้ผู้อ่านหลบออกจาก ความเศร้าและความกังวลในชีวิตจริง  เข้าไปอยู่ในจินตนาการของนักเขียนเป็นเวลาชั่วคราวนั่นเอง
พัฒนาการด้านการเรียนรู้และสติปัญญา
การประมวลผลจากภาพที่เห็น เป็นการทำงานของสมองในขณะอ่านหนังสือนั้น เริ่มตั้งแต่การประวลผลจากภาพของตัวอักษร และกระตุ้นสมองในส่วน Occipital lobe ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น
ทักษะในการเรียนของเด็ก การอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาความสามารถในการเรียน  ปัจจัยเรื่องการอ่านหนังสือเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการทดสอบความสามารถด้านสติปัญญา  ที่มีผลมากกว่าปัจจัยเรื่องระดับการศึกษาของพ่อแม่เสียอีก การอ่านมีส่วนพัฒนาทักษะการคำนวณด้วย  เนื่องจาก การอ่านหนังสือ  สร้างเสริมให้เด็กคุ้นเคยกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทำให้เด็กรู้จักการสร้างกรอบความคิดและความคิดรวบยอด  จึงส่งผลให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้ดีขึ้นในหลายๆด้าน และยังสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับเด็กอีกด้วย
ความสามารถในการจำที่ดี
 การอ่านหนังสือเป็นประจำในขณะที่ยังเยาว์วัยจะช่วยถนอมความจำเอาไว้ได้เมื่อมีอายุมากขึ้น การศึกษา โรเบิร์ต วิลสันและคณะผู้วิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ อ่านหนังสือเป็นประจำในช่วงที่มีอายุน้อย จะมีความจำถดถอยที่ช้ากว่ากลุ่มที่ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อ่านหนังสือเป็นประจำอย่างต่อเนื่องมาตลอดจนกระทั่งสูงอายุ จะมีความจำถดถอยน้อยกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 32 ในขณะที่คนที่แทบไม่อ่านหนังสือเลยจะมีความจำถดถอยที่เร็วกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 48 กิจกรรมการอ่านหนังสือนั้นเป็นการบริหารสมอง  และทำให้เกิดการสร้าง synapses หรือความเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทในสมองในช่วงเยาว์วัยที่มากกว่านั่นเอง
การอ่านเพื่อช่วยในการปรับตัวและลดปัญหาสุขภาพใจ
การบำบัดด้วยการอ่าน หรือบรรณบำบัด  หรือการใช้หนังสือเป็นเครื่องมือในการช่วยบำบัดสภาพจิตใจให้ผู้อ่านผ่านพ้นช่วงเวลาตึงเครียดและเป็นทุกข์ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการเติบโตและพัฒนาด้านจิตใจ การอ่านหนังสือนั้น เปิดโอกาสให้เด็กทำความเข้าใจตนเองและสิ่งต่างๆ  ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และเรียนรู้วิธีที่ดีกว่าในการรับมือกับปัญหา
สร้างเด็กให้กลายเป็น "นักอ่าน"
ทักษะการอ่านที่ดีนั้น จะต้องอ่านได้อย่างถูกต้อง การอ่านที่คล่องแคล่ว มีความรู้เรื่อง คำศัพท์พื้นฐาน  ที่จะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจในส่ิงที่อ่านและเกิดเป็นความสนุกสนานในการอ่านหนังสือ เป็นแบบอย่างของนักอ่าน
"ถ้าคุณอยากเห็นเด็กเป็นนักอ่าน คุณก็ต้องอ่านให้เด็กเห็น"
ขัดเกลาการอ่านให้แคล่วคล่อง
อ่านคล่องแคล่ว มีแนงทางดังนี้  โดย เปิดโอกาสให้เด็กอ่านออกเสียงให้ฟังต่อหน้า และคอยช่วยขัดเกลาการอ่านให้ถูกต้อง และต้องฝึกซ้ำๆ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ  (นั่นคือ ฝึกทุกวัน หรืออย่างน้อย 3-4ครั้งต่อสัปดาห์) ต้องระมัดระวังไม่ทำให้เด็กกลัวหรือเสียความมั่นใจในการอ่าน
สร้างคลังคำศัพท์พื้นฐาน
คำศัพท์ในคลังความรู้ของเด็กนั้น  จะเพิ่มขึ้นประมาณ  30,000  คำต่อปี  โดยเด็กจะเรียนรู้ได้จากสิ่งรอบตัว บทสนทนาหนังสือและสื่อต่างๆ ควรฝึกให้เด็กเชื่อมโยงคำศัพท์ใหม่ๆ  เข้ากับความรู้และประสบการณ์เดิมตนเอง หรือคำศัพท์ที่อยู่ในหมวดหมู่ที่ใกล้เคียงกัน
อ่านให้ได้ "ใจความ"
การอ่านหนังสือร่วมกันแล้วร่วมกับการชักชวนให้เด็กพูดคุย จึงเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จะพัฒนาทักษะ "การจับใจความ" ให้กับเด็กได้
บรรยากาศของการเรียนรู้
การอ่านจึงไม่ควรเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อ เงียบเหงา หรือกลายเป็นกิจกรรมเพื่อการลงโทษ
กลุ่มเด็กที่มีปัญหาในการอ่าน
ปัจจัยด้านชีวภาพของตัวเด็ก
- ปัญหาด้านการรับสัมผัส (การได้ยิน การมองเห็น)
- โรคทางระบบประสาทที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง
- ความผิดปกติด้านพัฒนาการ
- ความบกพร่องด้านสติปัญญา
ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านอ่าน
ปัจจัยด้านจิตใจ
- ความผิดปกติด้านพฤติกรรมหรืออารมณ์ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคทางอารมณ์ โรควิตกกังวล
ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
- บรรยากาศที่ตึงเครียดในการเรียนรู้
- ความตึงเครียดในครอบครัว
- การช่วยเหลือด้านการเรียนที่ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมกับเด็ก
ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน
ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน (LD) ในด้านการอ่าน หรือที่บางตำรา เรียกว่า กลุ่มอาการอ่านหนังสือไม่ได้  เป็นกลุ่มอาการที่บุคคลมีปัญหาที่จำเพาะต่อกระบวนการอ่าน  โดยอาการดังกล่าว  เป็นผลมาจากระบวนการประมวลผลด้านภาษาของสมองที่แตกต่างจากคนทั่วไป
เด็กที่มีอาการของโรค LD ด้านการอ่านนี้ จะประสบปัญหาในการเรียนรู้การอ่าน  มีความสามารถด้านการอ่านน้อยกว่าวัย  อ่านได้ไม่คล่อง  ตะกุกตะกัก  อ่านแบบสะกดคำไม่ได้  อ่านโดยอาศัยการจำเป็นภาพคำ  ไม่สามารถเชื่อมโยงหน่วยเสียงและตัวอักษรที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ได้ หรืออ่านแล้วจับใจความไม่ได้  เพราะมัวแต่วุ่นวายอยู่กับพยายามอ่าน
อาการของเด็กกลุ่มนี้ อาจทำให้ผู้ปกครองรู้สึกแปลกใจ ที่เด็กอ่านไม่ออก แม้ว่าเด็กจะดูตั้งอกตั้งใจ ได้รับการสอน อย่างเอาใจใส่ และดูฉลาดเฉลียวดีเมื่อเรียนรู้เรื่องอื่นๆ
ทั้งนี้ก็เนื่องจากความผิดปกติในการอ่านนี้ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ  และไม่ใช่ ส่วนหนึ่งของภาวะสติปัญญาบกพร่องหรือความผิดปกติของพัฒนาการ แต่เกิดจากความผิดปกติในกระบวนการประมวลผล "เฉพาะด้าน" เท่านั้น
Tips: ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน
- มีความบกพร่องเฉพาะด้านการอ่าน
- อ่นนได้ช้า ไม่คล่อง สะกดคำไม่ได้ จับใจความไม่ได้
- เกิดจากความผิดปกติในกระบวนการประมวลผลด้านภาษา
- ไม่ได้เกิดจากความไม่เอาใจใส่ การสอนไม่ดี หรือสติปัญญาไม่ดี
- พบได้ในคนทุกชนชาติและเศรษฐานะ
- หากได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม การอ่านจะดีขึ้นได้
ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน  นี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ผู้ปกครองจึงควรทำความรู้จักเพื่อที่จะเข้าใจในปัญหาและให้ความช่วยเหลือกับเด็กได้เร็วที่สุด ไม่ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อจนกลายเป็นความเครียดและความกดดันต่อการเรียน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ และมุมมองที่เด็กมีต่อตนเอง อาจทำให้เด็กกลายเป็นคนที่ขาดแรงจูงใจ และท้อถอยง่าย อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพในครอบครัว อีกด้วย
ทั้งนี้ การตรวจประเมินเพื่อยืนยันการวินิจฉัยภาวะนี้ ทำได้โดยการทดสอบทางจิตวิทยาโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวัดความสามารถในด้านการเรียนด้านต่างๆ
ความผิดปกติในระบบประสาทของผู้ที่มี LD ด้านการอ่าน
การศึกษาเชิงลึกในผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน พบว่า คนกลุ่มนี้มักจะมีปัญหาในกระบวนการอ่านเรื่อง Phonological processing (การประมวลผลและรับรุ้หน่วยเสียงของคำ) เป็นหลัก โดยจะไม่สามารถเชื่อมโยงหน่วยเสียงเข้ากับตัวอักษรได้  จึงแสดงอาการสับสนในเรื่องการอ่านคำคล้องจอง  การนับพยางค์ และการสะกดคำ
และเมื่อทำการศึกษาระดับการทำงานของสมองในกลุ่มคนที่มีภาวะบกพร่องในการอ่านและกลุ่มคนทั่วไปเปรียบเทียบกัน ด้วยการตรวจfMRIและPET scan ก็พบว่า สมองของคนทั้งสองกลุ่มมีระดับการทำงานที่แตกต่างกัน โดย กลุ่มคนที่มีภาวะบกพร่องในการอ่าน จะมีการทำงานของสมองซีกซ้ายในส่วน temporal และparital lobe น้อยกว่า เมื่อต้องใช้ความสามารถด้าน phonological processing
ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาในกลุ่มเด็กอายุ 8-12 ปี ของเท็มเพิล และคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำการวัดระดับการทำงานของสมองด้วย fMRI เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเด็กที่มีภาวะบกพร่องในการอ่านจำนวน  24 คน  และกลุ่มเด็กทั่วไปจำนวน 15 คน ในขณะทำการทดสอบการอ่านคำคล้องจอง โดยผลของการศึกษารายงานลักษณะการทำงานของสมองที่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มในรูปแบบเดียวกันกับที่พบในการศึกษาของกลุ่มผู้ใหญ่
ดังนั้นผลการศึกษาที่ผ่านมาจึงยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า  ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่านนั้นเป็นผลจากความบกพร่องของการทำงานในระบบประสาทเฉพาะด้าน โดยมีการทำงานที่ผิดปกติไปของสมองในส่วน temporo-parietal area จึงส่งผลให้การส่งข้อมูลต่อระหว่างเนื้อสมองจากสมองส่วนหน้าและสมองส่วนหลังผิดปกติทำให้ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลจากกระบวนการอ่านหนังสือได้คล่องแคล่วเหมือนคนทั่วไนั่นเอง
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องในการอ่าน
การให้ความช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ควรเน้นการให้ความช่วยเหลือ ในด้านการศึกษาเพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้การอ่านได้ดีขึ้น  โดยควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก
เด็กกลุ่มนี้มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือพิเศษจากทา.โรงเรียน  โดยควรมีการพูดคุยระหว่างผู้ปกครองและครู  ผู้ดูแลเพื่อพิจารณาความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เป็นพิเศษ  เช่น การเรียนเสริม  การเรียนกลุ่มย่อย  การให้เวลาในการสอบเพิ่มขึ้น  ซึ่งรวมไปถึงการพิจารณาจัดทำแผนการเรียนเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program - IEP) เพื่อจัดแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามความสามารถและความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคน  โดยในการจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคลนี้  ครูผู้ดูแลจะต้องประเมินรายละเอียดทั้งในเรื่องความสามารถ และข้อจำกัดของเด็ก รู้จักลักษณะการสอนที่เด็กจะเรียนรู้ได้ดี  และควรมีการกำหนดหัวข้อและเป้าหมายการเรียนของเด็กในแต่ละปีการศึกษาที่ชัดเจน
ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าการรักษาด้วยยาหรือการทำจิตบำบัดนั้นไม่ใช่การรักษาโดยตรงสำหรับภาวะนี้  แต่อย่างไรก็ดี  ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านนั้นอาจพบร่วมกับปัญหาด้านอารมณ์หรือพฤติกรรมอื่นๆ เช่นโรคสมาธิสั้น  หรือโรคทางอารมณ์  ซึ่จะได้ประโยชน์จากการรักษาทางจิตเวช  ดังนั้น  ในกรณีที่ผู้ปกครองหรือครูผู้ดูแลสงสัยว่าเด็กอาจจะประสบปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย เราก็ขอแนะนำให้ลองปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง  เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลช่วยเหลือเด็กต่อไป

นิทานอธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว
ตอน ดาวของคุณครู
- ทำไมถึงชอบตอนนี้
       เพราะเมื่อได้อ่านนิทานอธิษฐานสิจ๊ะ ก็ทำให้นึกย้อนไปเมื่อตอนสมัยเราเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา ครูได้มอบหมายให้ทำงานศิลปะ วาดภาพ ซึ่งเป็นงานที่ไม่ถนัดแต่ก็วาดสุดฝีมือ สุดความสามารถเรา ซึ่งต่างจากเพื่อนๆ ที่เค้าวาดได้อย่างสวยงาม เมื่อครูตรวจชิ้นงาน เนื่องจากอยู่ชั้นประถมศึกษาแล้ว ครูจะไม่ได้ให้เป็นดาว  จะตรวจงานโดยให้เป็นคะแนนเต็มสิบ   เมื่อครูตรวจงาน  ก็จะได้คะแนน 7 ส่วน สิบ เพื่อนคนที่วาดสวยๆ ก็จะได้ 9-10 คะแนน เมื่อเราได้คะแนนน้อยก็ไม่อยากให้ใครได้เห็นเพราะเราวาดรูปไม่สวยและได้ คะแนนน้อย ถ้าหากครูเอาชิ้นงานเราไปเปรียบเทียบกับเพื่อนฝีมือเราย่อมด้อยกว่า เพื่อนอยู่แล้ว  แต่หากครูเปรียบเทียบกับชิ้นงานของเราที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ ครูก็อาจจะเห็นการพัฒนางานของเราขึ้นเรื่อยๆ

- ให้ข้อคิดอะไร มีเหตุการณ์ใดหรือเชื่อมโยงอย่างไรกับชีวิตเรา
       เมื่อครูให้หินวาดภาพที่ตัวเองชอบ ก็นึกถึงนางฟ้าสีเขียวและอยากวาดภาพให้คุณครูดู ผมตั้งใจที่สุดเลยฮะ พยายามวาดรูปออกมาอย่างสวยที่สุดด้วยเส้นผม พยามยามดัดให้กลมเหมือนปีกสองเส้น แล้วผมใช้สีเขียวระบายในวงกลมทั้งสองนั้น ผมคิดว่านั่นคือ รูปนางผ้าที่วาดได้สวยที่สุดแล้วแต่ครูก็ตรวจให้ผมเพียงดาวเดียว ในความรู้สึกของผมดูมันเป็นดาวซีดๆ ผอมๆ เสียด้วยสิฮะ  เมื่อผมแอบชำเลืองดูภาพของเพื่อนบางคนครูให้ดาวตัวโตสามดวง แม้แต่โจดยังได้ดาวสองดวง
นี่เป็นความรู้สึกของเด็กชายหิน เด็กผู้ชายตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่ตั้งใจวาดภาพที่อยู่ในจินตนาการของเขาเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกให้กับครูได้ดู  แต่ครูตรวจผลงานโดยเปรียบเทียบผลงานเขากับเพืิ่อนๆ ซึ่งแต่ละคนย่อมมีความสามารถที่แตกต่างกัน มีควมถนัดต่างกัน จึงทำให้ชิ้นงานของหินนั้นดูไม่สวยเหมือนกับเพื่อน เขาจึงได้ดาวเดียว และเพื่อนๆ ได้สองสามดาว ดาวดวงเดียวนี้ทำให้ความคิดของหินรู้สึกมีปมด้อยกับงานของเขา ไม่กล้านำงานนี้ไปโชว์ใครอีกต่อไป ได้แต่เก็บเรื่องนี้ไว้คนเดียว  หากครูตรวจผลงานหินโดยการดูพัฒนาการจากเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ก็จะเห็นว่าชิ้นงานของหินนั้นพัฒนาจากเดิม มากน้อยเพียงไร นี่เป็นสิ่งเล็กๆ ในสายตาผู้ใหญ่ แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่อยู่ในใจเด็ก ที่ผู้ใหญ่อาจจะมองข้าม  หากผู้ใหญ่เข้าใจเด็กมากขึ้น ไม่สกัดกั้นพัฒนาการเด็ก จินตนาการของเด็ก  เขาก็จะได้แสดงออกและมีจินตนาการที่ดี และครูเองต้องดึงศักยภาพเขาออกมาให้ได้ว่าเขานั้นมีความสามารถตรงไหน แทนที่จะเปรียบเทียบชิ้นงานให้เด็กดูด้อยค่า หรือม่ีปมด้อย ขาดความมั่นใจ ครูควรเสริมแรงหรือสร้างแรงบันดาลใจให้เขาอยากทำงานนั้น ชื่นชมค้นหาศักยภาพในตัวบุคคลนั้นออกมาให้ได้ เพื่อให้เขาได้เห็นคุณค่าในตัวเอง ว่าเขาเองก็มีความสามารถเหมือนกับเพื่อนๆ เช่นกัน

สังเกตการสอนวิชาหลัก คณิตศาสตร์ ป.5

สังเกตการสอนวิชาหลัก
คณิตศาสตร์ ครูฟ้า ป.5
- นั่งเป็นวงกลม ครูแจกสมุดให้ทุกคน

ครูฟ้าให้โจทย์
1)ไข่ไก่ 5 ฟอง ราคา 20 บาท
1.1 ไข่ไก่ 4 ฟอง  ราคากี่บาท
1.2 ไข่ไก่ 6 ฟอง ราคากี่บาท
1.3 ไข่ไก่ 1 ฟอง ราคากี่บาท
1.4 ถ้ามีเงิน 15 บาท ซื้อไข่ไก่ได้กี่ฟอง
1.5 ถ้ามีเงิน 1 บาท ซื้อไข่ไก่ได้กี่ฟอง

2) นม 7 กล่อง  ราคา 40 บาท
2.1 นม 1 กล่อง ราคากี่บาท
2.2 นม 5 กล่อง ราคากี่บาท
2.3 ถ้ามีเงิน 1 บาท ซื้อนมได้กี่กล่อง
2.4 นม10 กล่อง ราคาเท่าไหร่
 ครูฟ้าให้เวลา 15 นาทีนะคะ สำหรับการคิด
ตบมือ 5 ครั้ง ตบให้ดังกว่านี้  ตบใหม่อีกที แล้วกลับมานั่งตัวตรง
กิจกรรมก่อนเรียน
เพื่อดูฐานว่าเราเข้าใจของเด็ก
ครูฟ้าจะเฉลยนะคะ บนกระดาน ให้เด็กออกมาช่วยกัน(แชร์)
1)ไข่ไก่ 5 ฟอง ราคา 20 บาท
1.1 ไข่ไก่ 4 ฟอง  ราคากี่บาท
วิธีที่ 1        16 บาท
                5:20 บาท
                ฟองละ 4 บาท
                4x4 = 16 บาท
มีใครที่คิดต่างจากนี้นะคะ  ใช้วิธีไหนได้อีกค่ะ
วิธีที่ 2        4+4+4+4=16 หรือ อาจจะคิดต่อ 4+4+4+4=16 บวก 4 เพิ่มอีก1 ครั้งก็จะเป็น 20
วิธีที่ 3                20-4 = 16

1.2 ไข่ไก่ 6 ฟอง ราคา กี่บาท
วิธีที่ 1          6x4 = 24
วิธีที่ 2          5:20
                         +
                  1: 4
                  6:24
1.3  ไข่ไก่ 1 ฟอง ราคากี่บาท
วิธีที่ 1           20 ÷ 5
วิธีที่ 2            5:20
                   1:4
วิธีที่ 3            4x1 = 4 บาท

วิธีที่ 4            2:6
                    3 : 12
                    4 : 16
1.4 ถ้ามีเงิน 1 บาท ซื้อไข่ไก่ได้กี่ฟอง
 1 บาท = 1/4 =25/100  =25% = 1/4 ฟอง
1.5

ครูขอใช้สิทธิ์ในการสลับที่ให้เรานะคะ
- พี่กระดาษจะเดินทางไปด้านที่พร้อมก่อนนะคะ  เช็คความเข้าใจเราก่อนนะคะ  กระดาษแผ่นนี้แสดงวิธีคิดต้องการกระบวนการคิด ไม่ต้องการคำตอบ มีวิธีคิดที่หลากหลาย  โจทย์ที่ให้ไป เราได้แชร์กันแล้วบนบอร์ด พับครึ่งทุกครั้งนะคะ และเขียนชื่อ
มี 2 ข้อใหญ่ และ5 ข้อย่อยนะคะ
1) น้ำ 6 ขวด ราคา 50 บาท
1.1 น้ำ 1 ขวด ราคากี่บาท
1.2 ถ้ามีเงิน 1 บาท ซื้อน้ำได้กี่ขวด
1.3 ถ้ามีเงิน 25 บาท ซื้อน้ำได้กี่ขวด
1.4 ข้อนี้ให้พี่ๆ สร้างโจทย์เอง
1.5 จ่ายเงิน 120 บาท ซื้อน้ำได้กี่ขวด และได้เงินทอนเท่าไหร่ (ซื้อให้มากที่สุดและเงินทอนเหลือน้อย)
2) สมุด 6 เล่ม ราคา 72 บาท
2.1 สมุด 12 เล่ม ราคากี่บาท
2.2 มีเงิน 100 บาท ซื้อสมุดได้มากที่สุดได้กี่เล่ม และเหลือกี่บาท
2.3 สมุด 1 เล่ม ราคาเท่าไหร่
2.4 ถ้ามีเงิน 1 บาท ซื้อสมุดได้กี่เล่ม
2.5 ถ้ามีเงิน 2 บาท ซื้อสมุดได้กี่เล่ม
วิชาภาษาไทย ครูยิ้ม
ให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ครูยิ้มถามเด็กว่า ปิดเรียน 4 วันที่ผ่านมา พี่มีเหตุการณ์อะไรที่ประทับใจบ้างค่ะ
การเล่นมายากล พี่ๆคิดว่ามีเทคนิค วิธีอะไรในการเล่นมายากลเดี๋ยวเราค่อยตอบนะคะ
ประทับใจอะไรในเหตุการณ์ 4 วัน
ทำอย่างไรบ้าง
พี่ประทับใจเรื่องอะไรค่ะ
- เหตุการณ์อะไรที่หนูประทับใจค่ะ
- ประทับใจที่ไปเล่นน้ำ มันเป็นลักษณะอย่างไรค่ะ
- น่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำ
- น้อยใจเมื่อวันอังคารค่ะ หนูน้อยใจอะไรค่ะ หมาไม่เล่นด้วย
ครูยิ้มชื่นชมงานพี่ที่ทำงานด้วยความตั้งใจ  ชื่นชมคนที่ส่งที่ตั้งใจส่งและน่ารัก
ภาษาไทยให้นักเรียน
- ครูยิ้ม ขอ 20 คำ จากตอนในอ้อมกอดใส่กระดาษบันทึก และสรุปเป็นแผนภาพโครงเรื่องลงในสมุด/ระบายสี (6 กิ่ง)
- ขอบคุณที่ตั้งใจเขียนด้วยลายมือที่สวยงาม
คำที่ 1 ฤดูร้อน
คำที่ 2 แผ่นสังกะสี
คำที่ 3 กลั้นหายใจ
คำที่ 4 อาหาร
คำที่ 5 สิ้นแสงอาทิตย์
คำที่ 6 ช่างจักสาน
คำที่ 7 ตะเกียง
คำที่ 8 ตุ๊กแก
คำที่ 9 กระพริบ
คำที่ 10 จังหวะ
คำที่ 11 ระยิบระยับ
คำที่ 12 สายตาดูหมิ่น
คำที่ 13 มันสำปะหลัง
คำที่ 14 บรรยากาศ
คำที่ 15 ผ้าสไขาว
คำที่ 16 สวดมนต์
คำที่ 17 ผลุนผลัน
คำที่ 18 เกลือสินเธาว์
คำที่ 19 อ้วนกระปุ๊กลุ๊ก
คำที่ 20 กาอะลูมิเนียม
- ครูยิ้มไม่เฉลยนะคะ จะให้เราหาคำตอบจากหนังสือเองค่ะ  แต่หนังสือยังไม่ครบจะทำอย่างไรดีค่ะ พี่ไปหยิบหนังสือมาให้คุณครูคืนด้วยนะคะ
- เขียนคำที่ถูกลงในสมุดแล้วกระดาษที่เขียนก็ส่งครูใช้ลายมือที่ตั้งใจนะคะ  การบ้าน  อธิบายความหมายของคำ  จำเป็นต้องหาความหมายจากพจนานุกรมมั๊ยค่ะ





กิจกรรมถอดบทเรียน ครูยิ้ม ครูป้อม ครูกลอย

ถอดบทเรียน ครูป้อม ครูยิ้ม ครูกลอย
- ทบทวน ใคร่ครวญ ทบทวนสิ่งที่รู้แล้ว การเคารพสังคม งานในวันนี้  กิจกรรมแต่ละวัน  แบบอย่างร่วมกัน  ใช้สถานการณ์ที่เห็นให้เป็นแบบอย่าง
พิธีชา
อุปกรณ์
- ใช้รางจืด , ใบเตย ,อัญชัญ สิ่งที่มีอยู่ในโรงเรียน
- ขนมเปี๊ยะ พายสัปปะรด ไม่ใช่ขนมกรุบกรอบ
ธรรมชาติจะให้การเรียนรู้เรา เป็นธรรมดา วิถีของเราแบบนี้
เมื่อทำแล้วเด็กเค้าช้าลงรึป่าว
ครูมีเรื่องเล่าแทรกนิดหน่อย ขอบคุณพี่อาทิตย์ที่ทำให้พี่หญ้าได้เจิรญเติบโต ให้พี่วัวตัวโต  ผลิตนมทำให้เราได้ดื่มนม มีเรื่องเล่า  ทำให้ผ่อนคลาย
ทำให้คุณครูเข้าใจสิ่งที่ทำก่อน ถ้าไม่ใช่เด็กพิเศษควรให้อยู่กับเพื่อนๆ เด็กพิเศษ ต้องหาสาเหตุ และแก้ปัญหา ชงประมาณ 15 นาที ใช้กล้ามเนื้อ มีสื่อและอุปกรณ์ คนที่ช้าก็จะให้งานง่ายกว่าเพื่อนๆ ให้การบ้านที่เหมาะกับผู้ปกครองด้วย ในสิ่งที่เขารู้ไม่จำเป็นต้องเป็นเป็นเนื้อหาก็ได้
- คณะครูจะพูดคุยกันตลอด หลังเลิกเรียน
- ทุกบ่ายวันอาทิตย์  13.00 - 14.00 น. เตรียมงานที่จะสอนจะสอนอย่างไร
- นัดหมายเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาครูในวันหยุดถ้าบรรยากาศอึดอัด ก็จะหยุดทำในสิ่งนั้น มันมีจังหวะในการทำงาน โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนงาน เอาเรื่องเล่ามาแบ่งปันกัน ปันทุกข์ ปันสุข
การถอดบทเรียน คือ การแชร์ประสบการณ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ถ้าเป็นเรื่องที่ดีผู้นำควร Empower ทันที เสริมแรงบวก
- การตรวจงานเด็กก็จะมีการพูดคุย
คณิตศาสตร์ แบ่งเป็น 6 สาระหลัก
ป.1 หยิบสื่อจับสื่อเข้าสู่ตัวเลข , 2-3 กึ่งนามธรรม หยิบภาพที่จับมา, 3 วิเคราะห์ ใช้คำถามอธิบาย ใครมีวิธีที่แตกต่าง
ใช้สื่อที่มีอยู่จริง รอบตัวเรา  ไปวัดต้นถั่ว ส่วนสูง
ให้เห็นภาพก่อน ก็จะเข้าใจได้ง่าย
สำหรับเด็ก จะไม่ Empower จนเกินไป ช่วยเพื่อนก็จะลดอัตตาได้
สื่อที่ใช้ ก็นำมาจากโบว์ชัวร์ แม็คโครโลกตัส ลด กี่เปอร์เซนต์
ปลูกฝังปัญญาภายใน เสริมแรงด้านบวก เห็นคุณค่า เมื่อตรวจงานเด็กหาพบข้อผิดพลาด ก็อาจจะบอกเด็กให้กลับไปดูงานเพิ่มเติม หรือให้เขาอธิบายในสิ่งที่เขาทำ
- เด็กจะมีสมุดทดคิด
ครูยิ้มและครูกลอย ครูป้อม ได้ให้คณะครูทุกท่านได้อ่านบทความเกี่ยวกับข้าวยำ 

ข้าวยำคืออาหารประจำถิ่นของภาคใต้  ที่ชาวใต้นิยมรับประทานเป้นอาหารเช้า หรืออาหารกลางวัน ข้าวยำเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ให้สารอาหารที่หลากหลายแต่พลังงานต่ำ  เป็นอาหารที่เหมาะกับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เนื่อจากฝักในข้าวยำเป็นผักสดที่ไม่ต้องผ่านการปรุงใดๆ  จึงทำให้ได้รับวิตามินต่างๆ  ที่มีอยู่ในผักอย่างเต็มที่  นอกจากนี้ในข้าวยำยังให้แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต  และมีใยอาหารสูง  ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ  เอกลักษณ์ที่สำคัญของข้าวยำ  ก็คือ "น้ำบูดู" รสชาติความอร่อยของข้าวยำก็ขึ้นอยู่กับน้ำบูดดู น้ำบูดดูที่ใช้ราดข้าวยำ  หากเป็นสูตรของอิสลามแท้ ๆ จะใช้น้ำบูดู ล้วนๆ  แต่ถ้าเป็นสูตรของภาคใต้ตอนบน จะมีการใช้เครื่องปรุงที่ทำให้น้ำข้าวยำมีรสชาติที่อร่อยไปอีกแบบ ข้าวยำเป็นอาหารจานเดียว  รวดเร็ว และทำได้ง่าย จัดว่าเป็นอาหารสุขภาพ เพราะมีส่วนประกอบของข้าวยำ มีผักและผลไม้หลากหลายชนิด  ประโยชน์อันดับแรก คือใยอาหาร  และวันนี้ผู้เข้ารับการอบรมได้ลงมือทำข้าวยำกัน เพื่อจะได้รับประทานเป็นอาหารเที่ยง  จากนั้น คณะครูทุกคนก็ช่วยกันหั่นผัก จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ คนละไม้คนละมือและร่วมรับประทานข้าวยำกันอย่างเอร็ดอร่อย
ชมวีดีโอ "หอยเชอร์รี่" เรียนรู้การแก้ปัญหาการหิว เอาจากหอยเชอร์รี่ เป็นปัญหา "หอยขม" อเมริกาใต้
- วิธีการต้ม ต้มใส่เกลือไม่ต้องใส่น้ำ เพราะหอยมีน้ำอยู่ในตัวแล้ว เพื่อนๆ บางคนไม่รู้แต่มีคนที่รู้ก็สามารถบอกเพื่อนได้ หั่นหอยเชอร์รี่ และก้อยหอยเชอร์รี่
โจทย์ที่ครูให้คือ เป็นเมนูที่ยังไม่เคยมีใครทำ
- หอยเชอร์รี่ผัดเผ็ด
- หอยเชอร์รี่ทอดกระเทียม
- ยำแกงอ่อมหอยคั่วแห้ง
ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำทุกคน คนละไม้คนละมือ 
*** ทำมากแต่ได้น้อย บางอย่างตอบคำถามยาก อาจไม่ใช่แค่รอคอยคำตอบ
สิ่งที่จะให้เด็กต้องระวังมาก
 - ระหว่างให้โทรศัพท์กับให้สัตว์เลี้ยง ให้เด็กเหมือนกัน
                                     
                                     เด็กสองคนนี้จะเป็นอย่างไร

 
10 อย่างที่ควรให้เด็กได้ทำ
- เล่นน้ำฝน
- เก็บผลไม้จากต้น (เด็ดจากขั้ว)
- จับลูกสัตว์ที่ยังเป็นลูกอ่อนๆ เล็กๆ มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้จากสัตว์เหล่านี้ ได้ด้วยความเมตตา 


 



แต่ถ้าอยู่กับโทรศัพท์เค้าจะไม่ได้อะไร


  
- ในหนึ่งวัน คนๆ หนึ่ง คิดอย่างน้อยกี่ครั้งรู้หรือไม่ 60,000 ครั้ง จึงต้องฝึกสติ
หนังสือแห่งชา เป็นการฝึกสติ ดังสติกลับมา 
- พิธีชา
- ทางเดินมีต่อ
- เห็นทุกข์แสวงหาทางดับทุกข์
300,000 คนที่ตกงาน การเรียนรู้แบบอ่านเป็นการเรียนรู้ที่แห้งแล้งที่สุด ตลอดชาเขียวพร้อมดื่ม ยอดขายพุ่งกระฉูด / เซเว่นจะควักเงินทุกบาททุกสตางค์ของท่าน เพราะมีการวางแผนการตลาดมาแล้ว 
- โรงเรียนที่เปิดตุู้โค้ก ก็ดีใจว่าร้านจะให้รถตู้สองคัน ต้องคิดกลับกันว่าเค้าอะไรมาขายให้ลูกหลานท่าน และเค้าเอาจากท่านไปเท่าไหร่ 
คนแก่คนเฒ่าในปัจจุบัน กินปลาร้า ทำงานตลอด เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ได้ทำงาน 
คลิป "อาหารจีนโอชารส"
- ดูแล้วเห็นอะไร 
- เห็นการคัดเลือกวัตถุดิบตามธรรมชาติ
- ความอร่อยของคนและธรรมชาติ
การไหว้ขอบคุณ พิธีขอบคุณข้าว การขอบคุณต้องทำให้ยิ่งใหญ่
ทำเพื่อตัวเอง  ความอดทนได้ฝึกมา จะสอนให้เด็กอดทนยังไง  เด็กเค้าจะอยู่ยังไง  
- เด็กทุกคนจะต้องเดินเท้าไปรร. เด็กญี่ปุ่น ภูมิลำเนาอยู่ที่ไหนก็ต้องเรียนในเขตบริการ 
- รร.ไม่มีภารโรง  ผู้ปกครองมีจิตอาสา คนปลูกข้าวที่ญี่ปุ่น คนยกย่องมาก ปลูกข้าวมะลิ  
- การให้เด็กได้รักต้นไม้ "ต้นไม้เพื่อชีวิต" สร้างป่า สร้างต้นไม้ 
- การสาน ก็เป็นการฝึกอดทน  ได้สู้กับตนเอง "เลิก ไม่เลิก" 



 



วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปกิจกรรมการเรียนรู้ ถอดบทเรียน

ถอดบทเรียน  ครูแป้ง ครูแดง ครูณี
กิจกรรม
นั่งเป็นวงกลม ให้แต่ละคนหยิบสิ่งของมาคนละ 1 ชิ้น  และวางไว้ด้านหน้า ใช้มือขวา จับอุปกรณ์ พร้อมกับพูด ให้ ให้ ให้ ไม่ให้ ให้  ถ้าพูดว่าไม่ให้ ไม่ต้องหยิบปากกา
กิจกรรม
วิธีการ
- จับคู่กับเพื่อน  สลับกัน นับ 1,2,3  1,2,3  1,2,3
- ปรบมือ,2,3  ปรบมือ,2,3 ปรบมือ,2,3
- ปรบมือ,ดีดนิ้ว,ปรบมือ   ปรบมือ,ดีดนิ้ว,ปรบมือ   ปรบมือ,ดีดนิ้ว,ปรบมือ
- ปริบมือ, ดีดนิ้ว, กระทืบเท้า
กิจกรรม จุด บน ป.ปลา
อุปกรณ์
- ภาพปลาโลมา สายเส้น
- ปากกาเคมี คนละแท่ง
- ให้อยู่กับตนเอง  20 นาที
สิ่งที่ทำ 
- เฝ้าสังเกตปรากฎการณ์
- ความรู้สึกอย่างไร
- มีความคิดอย่างไร
- ความรู้สึกอย่างไร  ขณะที่ทำ
- เกิดความสงบ จิตใจจดจ่อ
- อารมณ์ไหนที่ค้านกับสิ่งที่ทำ


 เป็นจุดเล็กๆ เป็นจุดเริ่มต้นให้งานสำเร็จ
ขอบคุณพี่ปลาทุกตัวค่ะ งานนี้จะต้องใช้สติ สมาธิ  ทำให้งานนั้นสำเร็จ
กิจกรรม 
พูดว่า ฝนตก ให้ตบตัก  พูดว่าฟ้าร้อง ให้ปรบมือ  พูดว่า ฟ้าผ่า ให้ทำมือกับร้องเปรี้ยง

กิจกรรม ศึกชิงรัง
อุปกรณ์
- กระดาษสิ่งพิมพ์สี่เหลี่ยม คนละ 1 แผ่น
- แลคซีน คนละแผ่น 
วิธีการเล่น ให้ทุกคนยืนบนกระดาษ ของตัวเอง และเมื่อปล่อยเป็ดออกไปทุกคนจะต้องช่วยกันไม่ให้เป็ดเข้าบ้านที่ว่างจะต้องช่วยกันป้องกัน  โดยสามารถวิ่งไปบ้านหลังอื่นได้ ถ้าออกจากบ้านแล้วห้ามถอยกลับ ห้ามผลัก ห้ามดัน จะเก็บสถิติว่าสามารถป้องกันเป็ดไม่ให้เข้าบ้านได้นานกี่นาที ทุกคนสามารถช่วยกันคิดวางแผนได้
กิจกรรม
การสร้างหอคอย (PBL) ไม่ต้องมีหัวหน้า กลุ่มละ 5 คน
อุปกรณ์
- กระดาษหนังสือพิมพ์ กลุ่มละ 4 แผ่น
- กระดาษกาว ยาว 80 ซม.
สร้างอย่างไร 
- จึงจะสูงที่สุด
- แข็งแรงที่สุด
- เคลื่อนที่ได้ 


Active Learning 
- เห็นอะไรในภาพค่ะ  เห็นช้าง พี่บูม สังเกตเห็นสิ่งมีชีวิต  คำพังเพย
ภาพนี้สื่อสารอะไรกับเราบ้าง  คำพังเพย  สุภาษิต  ลงทุนมากแต่ ได้ผลน้อย 
- ตีความจากภาพสื่อสารกับเพื่อน เค้าจะต้องหาความหมายอีกครั้ง  จากภาพที่ยังไม่รู้ แนะนำว่าเชื่อมโยงกัน นำคำมาแต่งนิทาน  10 บรรทัด  ครูแจกบัตรคำให้ แนะนำมาแต่งประโยค คิดยังไง ช่วยอธิบาย
- เป็นวิธีการสร้างกระบวนการเรียนรู้  ไม่ใช่การสอบ
จะใช้คำว่า พี่ทับทิมช่วยย้ำ  เมื่อเด็กตอบถูก  คิดเหมือน คิดต่างอย่างไร  

บางครั้งเพลงต่าง ๆ ก็จะได้จากเด็ก คุณครูสอนอะไรที่แตกต่างจากคุณครูอีกค่ะ
มัธยมต้องเป็นงานที่ท้าทาย, ประถมสั้นๆ กระชับ ไม่ชอบแนวเพลง