วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การวิจารณ์วรรณกรรม และอธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว

การอ่านหนังสือ
โจนาทาน ลิฟวิงส์ตัน นางนวล
- ได้แรงบันดาลใจบางอย่าง เป็นนกนางนวลที่มีความคิดที่แตกต่างจากเพื่อน  การกินไม่ใช่สาระสำคัญของชีวิต  และถูกมองว่าเป็นนกนอกคอกมองต่างจากเพื่อน ผิดวิถีและธรรมเนียมจากเพื่อน
- การบินยังเป็นสิ่งที่รักอยู่ และออกมาฝึกฝนในรูปแบบต่างๆ  จนได้การบินที่สูงมาก  และแปลงได้ด้วยตนเอง
- ถ้านกตัวไหน ถูกคัดออกจากกลุ่ม ก็จะกลับเข้ามาไม่ได้อีก
- นกที่เก่งจะสอนเค้าทุกอย่าง เรียนรู้เร็ว ก็จะถถ่ายทอดวิชา  การบินสูง หรือบินต่ำ ไม่ใช่จุดสุดยอด  จุดสุดยอดคือ  ความเป็นอิสรภาพ ไม่ให้อยู่กับปัจจุบัน
นึกภาพว่าถ้าเราอยู่ที่ไหน ให้ไปที่นั่นได้  เช่นการหายตัว  ใช้การว๊าบ
ถ้าเธอมีความสามารถแล้วไม่ช่วยเพื่อน เพื่อนก็จะไม่มีอิสรภาพเหมือนเธอ
- ใครที่อ่าน  คิดต่างอย่างไร
พิศวงกับความคิด  การว๊าบยังไง  มีมวลที่แปลกแยกทำได้กับทำไม่ได้  บอกให้อดทน
- ชีวิตไม่ได้มีแก่นสาร  แค่การอยู่การกิน
- ที่สุดของชีวิตคือการสงบอยู่กับตัวเอง ฝึกฝนจนชำนาญ
หลักธรรมและหลักคิด  นกตัวอื่น  นึกถึงโรงเรียนเรา
-เค้าค้นพบวิธีการบินที่หลากหลาย  จนค้นพบวิธีการของตัวเอง
- นกที่บินข้างเค้าเปรียบเสมือนพระพุทธเจ้า  มีหน้าที่ทำอะไรก็ทำ

รีวิวเชิงวิจารณ์
- ใคร่ครวญ ตีความร่วมกัน ให้เพื่อนอ่านให้ฟัง
การอ่านกับการพัฒนาสมอง
การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ "การทำงานของสมอง" ที่เกิดขึ้น ในขณะอ่านหนังสือ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยปูพื้นฐานให้เราเข้าใจอานุภาพของการอ่านที่มีต่อการพัฒนาสมอง
ขั้นตอนของการอ่าน เป็นดังนี้
- รับภาพของเส้นที่ถูกขีดบนกระดาษผ่านกระบวนการมองเห็นเข้าสู่สมอง
- รับรู้ว่าภาพของเส้นที่รับเข้ามาเป็นตัวอักษร แทนหน่วยอักขระ ด้วยหน่วยเสียง
- รับรู้ความหมายของคำ
- รับรู้การเรียบเรียงประโยค/ไวยากรณ์
- รับรู้การใช้วาทกรรมและภาษาในเชิงปฏิบัติ
- การสะกดคำ
- ความเข้าใจภาษา
ประการแรก การอ่านหนังสือ มีขั้นตอนที่ซับซ้อนและต้องอาศัยการทำหน้าที่ของสมองคนละตำแหน่งในการทำงานประสานกัน
ประการที่สอง การอ่านนั้นต้องอาศัยการทำงานของสมองส่วนหน้า สมองส่วนที่มนุษย์มีพัฒนาการแตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความอัศจรรย์ของสมองมนุษย์
ประการที่สาม  ความน่าทึ่งของสมอง ที่สามารถ ประมวผลการทำงานของสมองหลายบริเวณในเวลาที่รวดเร็ว  หากได้รับการฝึกฝนจนมีทักษะการอ่านที่คล่องแคล่ว
และประการสุดท้าย  กิจกรรมการอ่านหนังสือ เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการทำงานประสานกันของสมองในหลายบริเวณ  และทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ประสาท จำนวน มหาศาล
"การเปลี่ยนแปลง" ของสมองที่เกิดจากการอ่านหนังสือ
การเปลี่ยนแปลง" ของสมองที่เกิดจากการอ่านหนังสือ
กลุ่มตัวอย่างที่รู้หนังสือ จะมีความสามารถในการจดจำคำศัพท์ในระยะสั้นได้ดีกว่า หรือเรียกได้ว่ามีความสามารถด้าน verbal working memory ที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่รู้หนังสือ
และพบว่า กลุ่มคนที่ไม่รู้หนังสือ นั้น มีปัญหาอย่างมากในการพูดตามคำศัพท์ที่ไม่มีความหมาย  ไม่สามารถพูดตามคำศัพท์ปลอมๆ ที่กำหนดให้ได้  แต่จะพูดคำศัพท์ที่ออกเสียงใกล้เคียงกัน แต่เป็นคำที่มีความหมายและเคยรู้จักขึ้นมาแทน
กลุ่มที่รู้หนังสือสามารถพูดคำศัพท์ตามได้ แต่กลุ่มที่ไม่รู้หนังสือไม่สามารถพูดคำศัพท์หรือออกเสียงตามได้ อาจจะเป็นเพราะเมื่อคนเราเรียนรู้การอ่านหนังสือ เราได้เรียนรู้ระบบของการวิเคราะห์ แจกลูกคำออกเป็นหน่วยเสียงย่อยๆ  และเกิดความตระหนักในการมีอยู่ของหน่วยเสียงต่างๆ จึงทำให้เกิดเป็นความสามารถในการบันทึกคำที่สร้างจากหน่วยเสียงที่หลากหลายไว้ในความทรงจำ ถึงแม้คำเหล่านั้นจะไม่มีความหมายและไม่เคยได้ยินมาก่อนก็ตาม เนื่องจากสามารถสร้างคำจากหน่วยเสียงพื้นฐานที่รู้จักออกมาเป็นคำศัพท์ต่างๆ ในความคิดได้อย่างไม่จำกัด  แตกต่างจากคนที่ไม่เคยเรียนรู้ระบบอักษรที่ต้องจดจำคำต่างๆ  โดยอ้างอิงจากคลัง ศัพท์ที่รู้จัก อยู่เดิมในชีวิตประจำวันเท่านั้น
สรุปการอ่านนั้น ไม่ได้หยุดเพียงแค่กระตุ้นให้สมองของเด็กทำงานในขณะที่ถือหนังสือ  แต่การรู้จัก "การอ่าน" ยังมีผลทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการเรียนรู้ ระบบการทำงาน  และโครงสร้างของสมองในระยะยาว "การอ่าน"เป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การทำงานของสมอง และสมองที่มีกระบวนการเรียนรู้นั้นต่างหากที่เป็น"ผล" มาจากการอ่านหนังสือ
กระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับจากการอ่าน
การอ่านไม่ใช่มีเพียง "ข้อมูล" ที่ตัวหนังสือถ่ายทอดออกมา  แต่เด็กจะได้รู้จัก "กระบวนการเรียนรู้" ใหม่ๆ เป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่าน "ระบบสัญลักษณ์ และการสร้างจินตภาพ
บทบาทสัญลักษณ์ หมายถึงการใช้สิ่งหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนอีกสิ่งหนึ่ง โดยสัญลักษณ์ถูกใช้อย่างกว้างขวางในสังคมมนุษย์ในรูปแบบที่หลากหลาย มีจุดประสงค์เพื่อย่อสิ่งต่างๆ ให้เล็กลงและจัดการได้ง่าย ตัวอักษรได้ย่อโลก ย่อข้อมูลจำนวนมหาศาลลงในหน้ากระดาษ ทำให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้  จนแม้ว่าต่อให้คนส่วนใหญ่ในโลกนี้จะไม่เคยไปสัมผัสขั้วโลกใต้ แต่เราก็เสาะหาข้อมูลของสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของดินแดนที่ห่าวไกลนั้นได้ไม่ยากเย็น และในการเรียนรู้ระบบภาษาและตัวอักษรนั้น  เด็กก็จะได้รับทั้งข้อมูลและการทำความคุ้นเคยกับการใช้ระบบสัญลักษณ์ ระบบสัญลักษณ์ทำหน้าที่ย่อข้อมูลความรู้มาอยู่ตรงหน้าเด็ก  และการใช้ประโยชน์จากระบบสัญลักษณ์นี้  เด็กจะต้องค่อยๆ เรียนรู้ความหมายของแต่ละถ้อยคำ  เพื่อให้รู้และจดจำได้ว่าข้อความเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใด  มองเผินๆ  ดูคล้ายกับว่า  เด็กแค่กำลังเรียนรู้คำศัพท์ทีละพยางค์  ทีละคำ  แต่แท้จริงแล้ว  นั้น คือการเรียนรู้โลกภายนอกที่กว้างออกไปทีละนิด
พลังแห่งจินตนาการ
การสร้างจินตนาการนี้มีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพราะเราใช้การสร้างจินตนาการ  เพื่อสร้างภาพของข้อมูลต่างๆ เก็บไว้ในความทรงจำ และอาศัยภาพที่สร้างขึ้นในโลกภายในสมอง  มาคิดต่อยอด  วางแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ  รวมถึงการทดลองแก้ปัญหาเบื้องต้นในโลกของความคิด  จินตภาพที่ถูกสร้างขึ้นใรความคิดเหล่านี้เป็นพื้นฐานไปสู่การสร้างองค์ความรู้ย่อยๆ ที่เรียกว่า สกีมา เป็นหน่วยย่อยของข้อมูลความรู้ ที่สมองได้บันทึกภาพความเข้าใจและความคิดที่มีต่อสิ่งต่างๆ เก็บไว้ในสมอง  เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์ที่พบเจอ  และเป็นพื้นฐานไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่พัฒนามาจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ต่อไป   เด็กจะสามารถใช้องค์ความรู้ที่ได้นี้ตอบคำถามเกี่ยวกับจิงโจ้ในห้องเรียนได้  แม้ว่าเด็กจะไม่ได้หยิบหนังสือมาดูในขณะนั้น  อีกทั้งยังนำองค์ความรู้ที่ได้นี้ไปปรับเพื่อ เรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่  เมื่อครูสอนเกี่ยวกับสัตว์อื่นที่มีกระเป๋าหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ เช่นกระรอกบิน  ซึ่งเด็กก็จะบันทึกจินตภาพไว้ในสมองต่อไป
การสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่พัฒนามาจาก schema ที่มีอยู่นั้น  เกิดจากการทำงานของกระบวนการเรียนรู้ใน 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน  ได้แก่
1.การขยายองค์ความรู้  คือการเรียนรู้เพิ่มเติมโดยการใช้ schema เดิมที่มีอยู่
2.การปรับแต่งองค์ความรู้  คือ การเรียนรู้สิ่งใหม่โดยการปรับเปลี่ยน schema เดิมและสร้าง schema ใหม่ขึ้น
พัฒนาการด้านอารมณ์และการเข้าสังคม
มาจา ดิกิกและคณะผู้วิจัย ได้ทำการศึกษาประโยชน์ของการอ่านนิยายเรื่องแต่งที่มีต่อแนวความคิดของมนุษย์ เราก็พบว่า การอ่านหนังสือนิยายนั้นมีประโยชน์ด้านจิตใจมากกว่าที่คิด มีแนวโน้มที่จะ เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่  กล้ารับมือกับความไม่แน่นอน สามารถผ่อนคลายเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน  มีความยืดหยุ่น  และยังมีความคิดสร้างสรรค์  มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับนักศึกษากลุ่มที่อ่านบทความที่เขียนขึ้นจากข้อเท็จจริง  กระบวนการคิดดังกล่าว  อาจเกิดจากการที่ผู้อ่านจะต้องสร้างจินตภาพ  ติดตามการดำเนินเรื่องของตัวละครที่หลากหลาย  ทั้งตัวละครที่ผู้อ่านชื่นชอบในแนวคิด และตัวละครที่ผู้อ่านไม่ชื่นชอบ ตัวละครมีความคิดที่ต่างไปจากผู้อ่าน  หรือตัวละครที่มีการกระทำที่ผู้อ่านไม่เห็นด้วย  จึงทำให้ผู้ที่นิยมอ่านหนังสือประเภทนิยายเรื่องแต่งนั้น  รู้จักที่จะเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ  และมุมมองที่แตกต่างได้มากกว่านั่นเอง

เรียนรู้ใจเขาใจเรา
 นอกเหนือไปจากจิตใจที่เปิดกว้างแล้ว ทักษะสำคัญอีกประการหนึ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านการสร้างจินตภาพเพื่อใช้ชีวิตในมุมต่างตามบทบาทของตัวละคร คือ ความเห็นอกเห็นใจ  และการทำความเข้าใจความรู้สึกและมุมมองของบุคคลอื่น  ซึ่งเป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตในสังคม  และการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกของบุคคลอื่นเรียกว่า theory of mind (ธีออรี ออฟ มายด์) "ความสามารถในการรับรู้ว่าคนเรา  (ทั้งตัวเราเองและคนอื่นๆ ) มีความคิด ความเชื่อ ความต้องการ ความรู้ การรับรู้ และการแสดงออกที่เฉพาะในคนๆ หนึ่ง และในแต่ละคน  มุมมองเหล่านั้น ก็อาจมีความแตกต่างกันไป"
โดยเด็กทั่วไปจะเริ่มมีพัฒนาการในเรื่อง theory of mind ตั้งแต่มีอายุได้ 4 ปี
เด็กที่เริ่มมีการพัฒนาทักษะ เรื่อง theory of mind จะเปลี่ยนมุมมองความคิดจากที่เคยมองโลกในมุมมองของตนเองเพียงอย่างเดียว  ยึดความคิดและความรู้สึกของตนเองเป็นหลัก มาลองมองในมุมมองของคนอื่นดูบ้าง
ผลการวิจัยได้แสดงผลการศึกษาที่น่าสนใจ  เด็กที่คุ้นเคยกับการอ่านหนังสือร่วมกับพ่อแม่จะมีผลทดสอบทักษะเรื่อง theory of mind ที่ดีกว่าเด็กที่คุ้นเคยกับสื่ออื่นๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มที่คุ้นเคยกับการดูโทรทัศน์  การดูโทรทัศน์บ่อยๆ จะทำให้เด็กมีการพัฒนาทักษะ theory of mindที่ล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันอีกด้วย
รู้จักและเข้าใจตนเอง
การอ่านหนังสือ ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านจิตสังคมที่ดีให้กับเด็กเล้กเท่านั้น  แต่ได้รับการสร้างนิสัยรักการอ่านให้ติดตัวไป "การอ่านหนังสือ"  ก็ยังมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือในเวลาที่พวกเขาเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น  โดยมีส่วนช่วยให้ก้าวผ่านความทุกข์ใจที่เกิดภารกิจด้านจิตวิทยาตามธรรมชาติของวัยรุ่น  อย่างการแสวงหาอัตลักษณ์ของตนเอง และการปรับตัวเข้ากับสังคมไปได้
ผ่อนคลายความตึงเครียด
 จากการศึกษาผลของวิธีผ่อนคลายต่างๆ  ตั้งแต่การอ่านหนังสือ  การฟังเพลง การจิบชา  การเดินเล่น  และการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ โดยวัดอัตราการเต้นของหัวใจและความตึงของกล้ามเนื้อ การอ่านหนังสือ เป็นกิจกรรมที่ได้ประสิทธิผลสูงที่สุดในการคลายความเครียด  ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ 68 โดยใช้เวลาเพียงแค่ 6 นาที นับจากตอนที่เริ่มพลิกหน้ากระดาษ  ก็สามารถทำให้ผู้เข้าร่วมวิจัยมีอัตราหัวใจที่ช้าลงและความตึงตังของกล้ามเนื้อลดลง
ในขณะที่กิจกรรมอื่นๆ  ละระดับความเครียดในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้
การฟังเพลง - ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ  61
การดื่มชา - ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ 54
การเดินเล่น - ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ 42
การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ - ลดระดับความเครียดได้ร้อยละ 21
การที่หนังสือช่วยผ่อนคลายความเครียดได้  เป็นเพราะเรื่องราว ในหนังสือ ช่วยให้ผู้อ่านหลบออกจาก ความเศร้าและความกังวลในชีวิตจริง  เข้าไปอยู่ในจินตนาการของนักเขียนเป็นเวลาชั่วคราวนั่นเอง
พัฒนาการด้านการเรียนรู้และสติปัญญา
การประมวลผลจากภาพที่เห็น เป็นการทำงานของสมองในขณะอ่านหนังสือนั้น เริ่มตั้งแต่การประวลผลจากภาพของตัวอักษร และกระตุ้นสมองในส่วน Occipital lobe ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น
ทักษะในการเรียนของเด็ก การอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาความสามารถในการเรียน  ปัจจัยเรื่องการอ่านหนังสือเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการทดสอบความสามารถด้านสติปัญญา  ที่มีผลมากกว่าปัจจัยเรื่องระดับการศึกษาของพ่อแม่เสียอีก การอ่านมีส่วนพัฒนาทักษะการคำนวณด้วย  เนื่องจาก การอ่านหนังสือ  สร้างเสริมให้เด็กคุ้นเคยกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทำให้เด็กรู้จักการสร้างกรอบความคิดและความคิดรวบยอด  จึงส่งผลให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้ดีขึ้นในหลายๆด้าน และยังสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับเด็กอีกด้วย
ความสามารถในการจำที่ดี
 การอ่านหนังสือเป็นประจำในขณะที่ยังเยาว์วัยจะช่วยถนอมความจำเอาไว้ได้เมื่อมีอายุมากขึ้น การศึกษา โรเบิร์ต วิลสันและคณะผู้วิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ อ่านหนังสือเป็นประจำในช่วงที่มีอายุน้อย จะมีความจำถดถอยที่ช้ากว่ากลุ่มที่ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อ่านหนังสือเป็นประจำอย่างต่อเนื่องมาตลอดจนกระทั่งสูงอายุ จะมีความจำถดถอยน้อยกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 32 ในขณะที่คนที่แทบไม่อ่านหนังสือเลยจะมีความจำถดถอยที่เร็วกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 48 กิจกรรมการอ่านหนังสือนั้นเป็นการบริหารสมอง  และทำให้เกิดการสร้าง synapses หรือความเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทในสมองในช่วงเยาว์วัยที่มากกว่านั่นเอง
การอ่านเพื่อช่วยในการปรับตัวและลดปัญหาสุขภาพใจ
การบำบัดด้วยการอ่าน หรือบรรณบำบัด  หรือการใช้หนังสือเป็นเครื่องมือในการช่วยบำบัดสภาพจิตใจให้ผู้อ่านผ่านพ้นช่วงเวลาตึงเครียดและเป็นทุกข์ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการเติบโตและพัฒนาด้านจิตใจ การอ่านหนังสือนั้น เปิดโอกาสให้เด็กทำความเข้าใจตนเองและสิ่งต่างๆ  ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และเรียนรู้วิธีที่ดีกว่าในการรับมือกับปัญหา
สร้างเด็กให้กลายเป็น "นักอ่าน"
ทักษะการอ่านที่ดีนั้น จะต้องอ่านได้อย่างถูกต้อง การอ่านที่คล่องแคล่ว มีความรู้เรื่อง คำศัพท์พื้นฐาน  ที่จะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจในส่ิงที่อ่านและเกิดเป็นความสนุกสนานในการอ่านหนังสือ เป็นแบบอย่างของนักอ่าน
"ถ้าคุณอยากเห็นเด็กเป็นนักอ่าน คุณก็ต้องอ่านให้เด็กเห็น"
ขัดเกลาการอ่านให้แคล่วคล่อง
อ่านคล่องแคล่ว มีแนงทางดังนี้  โดย เปิดโอกาสให้เด็กอ่านออกเสียงให้ฟังต่อหน้า และคอยช่วยขัดเกลาการอ่านให้ถูกต้อง และต้องฝึกซ้ำๆ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ  (นั่นคือ ฝึกทุกวัน หรืออย่างน้อย 3-4ครั้งต่อสัปดาห์) ต้องระมัดระวังไม่ทำให้เด็กกลัวหรือเสียความมั่นใจในการอ่าน
สร้างคลังคำศัพท์พื้นฐาน
คำศัพท์ในคลังความรู้ของเด็กนั้น  จะเพิ่มขึ้นประมาณ  30,000  คำต่อปี  โดยเด็กจะเรียนรู้ได้จากสิ่งรอบตัว บทสนทนาหนังสือและสื่อต่างๆ ควรฝึกให้เด็กเชื่อมโยงคำศัพท์ใหม่ๆ  เข้ากับความรู้และประสบการณ์เดิมตนเอง หรือคำศัพท์ที่อยู่ในหมวดหมู่ที่ใกล้เคียงกัน
อ่านให้ได้ "ใจความ"
การอ่านหนังสือร่วมกันแล้วร่วมกับการชักชวนให้เด็กพูดคุย จึงเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จะพัฒนาทักษะ "การจับใจความ" ให้กับเด็กได้
บรรยากาศของการเรียนรู้
การอ่านจึงไม่ควรเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อ เงียบเหงา หรือกลายเป็นกิจกรรมเพื่อการลงโทษ
กลุ่มเด็กที่มีปัญหาในการอ่าน
ปัจจัยด้านชีวภาพของตัวเด็ก
- ปัญหาด้านการรับสัมผัส (การได้ยิน การมองเห็น)
- โรคทางระบบประสาทที่ส่งผลต่อการทำงานของสมอง
- ความผิดปกติด้านพัฒนาการ
- ความบกพร่องด้านสติปัญญา
ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านอ่าน
ปัจจัยด้านจิตใจ
- ความผิดปกติด้านพฤติกรรมหรืออารมณ์ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคทางอารมณ์ โรควิตกกังวล
ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
- บรรยากาศที่ตึงเครียดในการเรียนรู้
- ความตึงเครียดในครอบครัว
- การช่วยเหลือด้านการเรียนที่ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมกับเด็ก
ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน
ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน (LD) ในด้านการอ่าน หรือที่บางตำรา เรียกว่า กลุ่มอาการอ่านหนังสือไม่ได้  เป็นกลุ่มอาการที่บุคคลมีปัญหาที่จำเพาะต่อกระบวนการอ่าน  โดยอาการดังกล่าว  เป็นผลมาจากระบวนการประมวลผลด้านภาษาของสมองที่แตกต่างจากคนทั่วไป
เด็กที่มีอาการของโรค LD ด้านการอ่านนี้ จะประสบปัญหาในการเรียนรู้การอ่าน  มีความสามารถด้านการอ่านน้อยกว่าวัย  อ่านได้ไม่คล่อง  ตะกุกตะกัก  อ่านแบบสะกดคำไม่ได้  อ่านโดยอาศัยการจำเป็นภาพคำ  ไม่สามารถเชื่อมโยงหน่วยเสียงและตัวอักษรที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ได้ หรืออ่านแล้วจับใจความไม่ได้  เพราะมัวแต่วุ่นวายอยู่กับพยายามอ่าน
อาการของเด็กกลุ่มนี้ อาจทำให้ผู้ปกครองรู้สึกแปลกใจ ที่เด็กอ่านไม่ออก แม้ว่าเด็กจะดูตั้งอกตั้งใจ ได้รับการสอน อย่างเอาใจใส่ และดูฉลาดเฉลียวดีเมื่อเรียนรู้เรื่องอื่นๆ
ทั้งนี้ก็เนื่องจากความผิดปกติในการอ่านนี้ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ  และไม่ใช่ ส่วนหนึ่งของภาวะสติปัญญาบกพร่องหรือความผิดปกติของพัฒนาการ แต่เกิดจากความผิดปกติในกระบวนการประมวลผล "เฉพาะด้าน" เท่านั้น
Tips: ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน
- มีความบกพร่องเฉพาะด้านการอ่าน
- อ่นนได้ช้า ไม่คล่อง สะกดคำไม่ได้ จับใจความไม่ได้
- เกิดจากความผิดปกติในกระบวนการประมวลผลด้านภาษา
- ไม่ได้เกิดจากความไม่เอาใจใส่ การสอนไม่ดี หรือสติปัญญาไม่ดี
- พบได้ในคนทุกชนชาติและเศรษฐานะ
- หากได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม การอ่านจะดีขึ้นได้
ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน  นี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ผู้ปกครองจึงควรทำความรู้จักเพื่อที่จะเข้าใจในปัญหาและให้ความช่วยเหลือกับเด็กได้เร็วที่สุด ไม่ปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อจนกลายเป็นความเครียดและความกดดันต่อการเรียน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ และมุมมองที่เด็กมีต่อตนเอง อาจทำให้เด็กกลายเป็นคนที่ขาดแรงจูงใจ และท้อถอยง่าย อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพในครอบครัว อีกด้วย
ทั้งนี้ การตรวจประเมินเพื่อยืนยันการวินิจฉัยภาวะนี้ ทำได้โดยการทดสอบทางจิตวิทยาโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวัดความสามารถในด้านการเรียนด้านต่างๆ
ความผิดปกติในระบบประสาทของผู้ที่มี LD ด้านการอ่าน
การศึกษาเชิงลึกในผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่าน พบว่า คนกลุ่มนี้มักจะมีปัญหาในกระบวนการอ่านเรื่อง Phonological processing (การประมวลผลและรับรุ้หน่วยเสียงของคำ) เป็นหลัก โดยจะไม่สามารถเชื่อมโยงหน่วยเสียงเข้ากับตัวอักษรได้  จึงแสดงอาการสับสนในเรื่องการอ่านคำคล้องจอง  การนับพยางค์ และการสะกดคำ
และเมื่อทำการศึกษาระดับการทำงานของสมองในกลุ่มคนที่มีภาวะบกพร่องในการอ่านและกลุ่มคนทั่วไปเปรียบเทียบกัน ด้วยการตรวจfMRIและPET scan ก็พบว่า สมองของคนทั้งสองกลุ่มมีระดับการทำงานที่แตกต่างกัน โดย กลุ่มคนที่มีภาวะบกพร่องในการอ่าน จะมีการทำงานของสมองซีกซ้ายในส่วน temporal และparital lobe น้อยกว่า เมื่อต้องใช้ความสามารถด้าน phonological processing
ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาในกลุ่มเด็กอายุ 8-12 ปี ของเท็มเพิล และคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทำการวัดระดับการทำงานของสมองด้วย fMRI เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเด็กที่มีภาวะบกพร่องในการอ่านจำนวน  24 คน  และกลุ่มเด็กทั่วไปจำนวน 15 คน ในขณะทำการทดสอบการอ่านคำคล้องจอง โดยผลของการศึกษารายงานลักษณะการทำงานของสมองที่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มในรูปแบบเดียวกันกับที่พบในการศึกษาของกลุ่มผู้ใหญ่
ดังนั้นผลการศึกษาที่ผ่านมาจึงยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า  ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านการอ่านนั้นเป็นผลจากความบกพร่องของการทำงานในระบบประสาทเฉพาะด้าน โดยมีการทำงานที่ผิดปกติไปของสมองในส่วน temporo-parietal area จึงส่งผลให้การส่งข้อมูลต่อระหว่างเนื้อสมองจากสมองส่วนหน้าและสมองส่วนหลังผิดปกติทำให้ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลจากกระบวนการอ่านหนังสือได้คล่องแคล่วเหมือนคนทั่วไนั่นเอง
การให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องในการอ่าน
การให้ความช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ควรเน้นการให้ความช่วยเหลือ ในด้านการศึกษาเพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้การอ่านได้ดีขึ้น  โดยควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก
เด็กกลุ่มนี้มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือพิเศษจากทา.โรงเรียน  โดยควรมีการพูดคุยระหว่างผู้ปกครองและครู  ผู้ดูแลเพื่อพิจารณาความจำเป็นในการให้ความช่วยเหลือต่างๆ เป็นพิเศษ  เช่น การเรียนเสริม  การเรียนกลุ่มย่อย  การให้เวลาในการสอบเพิ่มขึ้น  ซึ่งรวมไปถึงการพิจารณาจัดทำแผนการเรียนเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program - IEP) เพื่อจัดแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามความสามารถและความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคน  โดยในการจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคลนี้  ครูผู้ดูแลจะต้องประเมินรายละเอียดทั้งในเรื่องความสามารถ และข้อจำกัดของเด็ก รู้จักลักษณะการสอนที่เด็กจะเรียนรู้ได้ดี  และควรมีการกำหนดหัวข้อและเป้าหมายการเรียนของเด็กในแต่ละปีการศึกษาที่ชัดเจน
ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าการรักษาด้วยยาหรือการทำจิตบำบัดนั้นไม่ใช่การรักษาโดยตรงสำหรับภาวะนี้  แต่อย่างไรก็ดี  ภาวะบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้านนั้นอาจพบร่วมกับปัญหาด้านอารมณ์หรือพฤติกรรมอื่นๆ เช่นโรคสมาธิสั้น  หรือโรคทางอารมณ์  ซึ่จะได้ประโยชน์จากการรักษาทางจิตเวช  ดังนั้น  ในกรณีที่ผู้ปกครองหรือครูผู้ดูแลสงสัยว่าเด็กอาจจะประสบปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย เราก็ขอแนะนำให้ลองปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง  เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลช่วยเหลือเด็กต่อไป

นิทานอธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว
ตอน ดาวของคุณครู
- ทำไมถึงชอบตอนนี้
       เพราะเมื่อได้อ่านนิทานอธิษฐานสิจ๊ะ ก็ทำให้นึกย้อนไปเมื่อตอนสมัยเราเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา ครูได้มอบหมายให้ทำงานศิลปะ วาดภาพ ซึ่งเป็นงานที่ไม่ถนัดแต่ก็วาดสุดฝีมือ สุดความสามารถเรา ซึ่งต่างจากเพื่อนๆ ที่เค้าวาดได้อย่างสวยงาม เมื่อครูตรวจชิ้นงาน เนื่องจากอยู่ชั้นประถมศึกษาแล้ว ครูจะไม่ได้ให้เป็นดาว  จะตรวจงานโดยให้เป็นคะแนนเต็มสิบ   เมื่อครูตรวจงาน  ก็จะได้คะแนน 7 ส่วน สิบ เพื่อนคนที่วาดสวยๆ ก็จะได้ 9-10 คะแนน เมื่อเราได้คะแนนน้อยก็ไม่อยากให้ใครได้เห็นเพราะเราวาดรูปไม่สวยและได้ คะแนนน้อย ถ้าหากครูเอาชิ้นงานเราไปเปรียบเทียบกับเพื่อนฝีมือเราย่อมด้อยกว่า เพื่อนอยู่แล้ว  แต่หากครูเปรียบเทียบกับชิ้นงานของเราที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ ครูก็อาจจะเห็นการพัฒนางานของเราขึ้นเรื่อยๆ

- ให้ข้อคิดอะไร มีเหตุการณ์ใดหรือเชื่อมโยงอย่างไรกับชีวิตเรา
       เมื่อครูให้หินวาดภาพที่ตัวเองชอบ ก็นึกถึงนางฟ้าสีเขียวและอยากวาดภาพให้คุณครูดู ผมตั้งใจที่สุดเลยฮะ พยายามวาดรูปออกมาอย่างสวยที่สุดด้วยเส้นผม พยามยามดัดให้กลมเหมือนปีกสองเส้น แล้วผมใช้สีเขียวระบายในวงกลมทั้งสองนั้น ผมคิดว่านั่นคือ รูปนางผ้าที่วาดได้สวยที่สุดแล้วแต่ครูก็ตรวจให้ผมเพียงดาวเดียว ในความรู้สึกของผมดูมันเป็นดาวซีดๆ ผอมๆ เสียด้วยสิฮะ  เมื่อผมแอบชำเลืองดูภาพของเพื่อนบางคนครูให้ดาวตัวโตสามดวง แม้แต่โจดยังได้ดาวสองดวง
นี่เป็นความรู้สึกของเด็กชายหิน เด็กผู้ชายตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่ตั้งใจวาดภาพที่อยู่ในจินตนาการของเขาเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกให้กับครูได้ดู  แต่ครูตรวจผลงานโดยเปรียบเทียบผลงานเขากับเพืิ่อนๆ ซึ่งแต่ละคนย่อมมีความสามารถที่แตกต่างกัน มีควมถนัดต่างกัน จึงทำให้ชิ้นงานของหินนั้นดูไม่สวยเหมือนกับเพื่อน เขาจึงได้ดาวเดียว และเพื่อนๆ ได้สองสามดาว ดาวดวงเดียวนี้ทำให้ความคิดของหินรู้สึกมีปมด้อยกับงานของเขา ไม่กล้านำงานนี้ไปโชว์ใครอีกต่อไป ได้แต่เก็บเรื่องนี้ไว้คนเดียว  หากครูตรวจผลงานหินโดยการดูพัฒนาการจากเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ก็จะเห็นว่าชิ้นงานของหินนั้นพัฒนาจากเดิม มากน้อยเพียงไร นี่เป็นสิ่งเล็กๆ ในสายตาผู้ใหญ่ แต่เป็นเรื่องใหญ่ที่อยู่ในใจเด็ก ที่ผู้ใหญ่อาจจะมองข้าม  หากผู้ใหญ่เข้าใจเด็กมากขึ้น ไม่สกัดกั้นพัฒนาการเด็ก จินตนาการของเด็ก  เขาก็จะได้แสดงออกและมีจินตนาการที่ดี และครูเองต้องดึงศักยภาพเขาออกมาให้ได้ว่าเขานั้นมีความสามารถตรงไหน แทนที่จะเปรียบเทียบชิ้นงานให้เด็กดูด้อยค่า หรือม่ีปมด้อย ขาดความมั่นใจ ครูควรเสริมแรงหรือสร้างแรงบันดาลใจให้เขาอยากทำงานนั้น ชื่นชมค้นหาศักยภาพในตัวบุคคลนั้นออกมาให้ได้ เพื่อให้เขาได้เห็นคุณค่าในตัวเอง ว่าเขาเองก็มีความสามารถเหมือนกับเพื่อนๆ เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น